กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ

Last updated: 21 ส.ค. 2566  |  341 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ

สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค

ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 4 : พ.ศ. 2562 มาตรา 4) 

มาตรา ๔  ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครองดังต่อไปนี้

(๑) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ

(๒) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ

(๓) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ

(๓ ทวิ)[๔] สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา

(๔) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ หรือพระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้

 

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่สำคัญ มีดังนี้

  • กฎหมายว่าด้วยอาหารและยา พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (ฉบับที่ 6 : พ.ศ. 2562) 

       คุ้มครองดังนี้

  1. อาหารต้องมีสลากแสดง
  2. อาหารต้องไม่มีสิ่งอันตรายต่อสุขภาพปลอมปน
  3. อาหารต้องไม่ปลอม
  4. บรรจุภัณฑ์และภาชนะต้องสะอาด
  5. กระบวนการผลิตต้องได้รับมาตราฐาน
  6. ยาต้องได้มาตรฐานที่เป็นสากล
  7. ควบคุมการนำเข้า จำหน่าย ทั้งอาหารและยา
  8. ป้องกันและคุ้มครองการบริโภคยาปลอม ยาเสื่อมคุณภาพ
  9. โฆษณายาที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง
  10. อาหารผิดมาตรฐาน มีส่วนปะกอบทางอาหารขาดหรือเกินร้อยละ 30 จากเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ระบุไว้
  11. ไม่มีส่วนของวตถุมีพิษ
  • กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558

       คุ้มครองดังนี้

  1. ไม่มีอันตรายกับผู้ใช้
  2. ไม่มีส่วนประกอบวัตถุมีพิษ
  3. ไม่โฆษณา ใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด รวมทั้งต้องแสดงฉลาก ประเภท ชนิด ลักษณะของเครื่องสำอางตามที่กฎหมายกำหนด
  4. ไม่เป็นเครื่องสำอางปลอม หรือ ผิดมาตรฐาน
  • กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พศ 2535 (ฉบับที่ 4 : พ.ศ. 2562) 

       คุ้มครองดังนี้

  1. วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซต์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกำมันตรังสิ วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งเแวดล้อม 
  2. กฎหมายวิธีควบคุมและป้องกัน การผลิต จำหน่าย ขนส่ง นำเข้า ส่งออก 
  3. กฎหมายกำหนดวิธีควบคุมโฆษณาไว้ด้วย ไม่ให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ และสิ่งแวดล้อม อันที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ 1
  • กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 

       คุ้มครองดังนี้

  1. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินถนนทางเท้า
  • กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณ์อุตสาหกรรม พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 (ฉบับที่ 8 : พ.ศ. 2562)

      คุ้มครองดังนี้

  1. ให้ผู้ผลิตยกระดับมาตรฐานการผลิตและบริหารจัดการ ให้ได้สินค้าบริการที่ปลอดภัย
  2. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  3. ป้องกันไม่ให้สินค้าด้อยคุณภาพเข้ามาในประเทศ
  • กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 5 : พ.ศ. 2558)

       คุ้มครองดังนี้

  1. ควบคุมการออกแบบ รื้อถอน ก่อสร้าง ดัดเเปลง เคลื่อนย้าย และใช้อาคาร เพื่อให้ปลอดภัยแก่ผู้ใช้สร้อยและสัญจร
  2. ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เดือดร้อนรำคาญเเก่ผู้อยู่อาศัย
  • กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542

       คุ้มครองดังนี้

  1. ควบคุมราคาสินค้าและบริการพื้นฐาน
  2. ควบคุมวัตถุดิบหรือวัสดุที่นำไปเเปรรูปไม่ให้ราคาต่ำหรือสูงเกินไป
  3. ควบคุมการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ให้สมดุลกับความต้องการเพื่อป้องกันการผูกขาด

 

พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังนี้

พนักงานเจ้าที่มีอำนาจกระทำการ (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 5) 
มาตรา ๕  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้

(๑) นับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจสินค้า และเก็บหรือนำสินค้าในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบโดยไม่ต้องชำระราคาสินค้านั้น  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด

(๒) ค้น ยึด หรืออายัดสินค้า ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุสินค้า ฉลากหรือเอกสารอื่นที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้

(๓) เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อตรวจสอบการผลิตสินค้า การขายสินค้าหรือบริการ รวมทั้งตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสาร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้

(๔) มีหนังสือเรียกให้บุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่

ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้