เกริ่นนำ

   หากจะกล่าวถึง มหาลัยวิทยาลัยในรูปแบบมหาลัยเปิดนั้น คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือ มสธ. ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั้น เป็นมหาวิทยาลัยที่ยังคงเปิดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิด "มหาวิทยาลัยเปิด" ซึ่งการศึกษาในลักษณะดังกล่าวนั้น ช่วยเพิ่มพูนความรู้แก่ผู้ประกอบอาชีพและขยายโอกาสทางการศึกษาสำหรับท่านที่ไม่มีเวลาแต่มีความสนใจอยากพัฒนาศักยภาพของตนเองผ่านการเรียนรู้ในระบบนี้ ท่านก็สามารถรับการศึกษาได้โดยไม่ต้องเข้าเรียนเหมือนมหาลัยปิดที่ต้องเข้าชั้นเรียนทุกคาบ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ยังมีคณะให้ท่านเลือกเรียนมากมาย และหนึ่งในนั้นก็คือ คณะนิติศาสตร์ ที่ได้รับความสนใจจากหลายๆท่าน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชนั้นเป็นหนึ่งใน 5 สถาบัน ทางด้านคณะกฎหมายที่มีสิทธิสมัครวิสามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาได้ทันที นอกเหนือจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งหมายความว่าหากท่านจบจากนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ท่านจะสามารถสมัครวิสามัญสมาชิกได้ก่อน โดยท่านไม่จำต้องรอให้สอบผ่านใบอนุญาตให้เป็นทนายความแต่อย่างใด

   ข้าพเจ้า คือ สิทธิเก่าของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีความตั้งใจที่จะแชร์ความรู้ในด้านกฎหมายให้กับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้อง ๆ และประชาชนโดยทั่วไปที่มีความสนใจที่ต้องการศึกษาเรียนรู้ในคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

   ทั้งนี้ การให้ข้อมูลที่เป็นความรู้ทั้งหมดในเว็ปไซต์นี้ เป็นเพียงการสรุปใจความสำคัญ จากความเข้าใจและประสบการณ์โดยตรงของข้าพเจ้าที่ได้เคยร่ำเรียนผ่านมา โดยได้สรุปประเด็นสำคัญในข้อกฎหมาย รวมถึงการตีความเนื้อหาต่าง ๆ ให้มีความกระชับเข้าใจง่าย พร้อมตัวอย่างประกอบ รวบรวมเข้าด้วยกันเป็นแหล่งเรียนรู้กฎหมายให้สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ หรือมีเวลาน้อยในการศึกษาเรียนรู้ ให้สามารถนำไปอ่านเพิ่มเติมเพื่อทบทวนก่อนเข้าสอบได้

   เนื่องจากข้าพเจ้าเข้าใจดีว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นเป็นเรื่องยาก ประกอบกับการต้องเรียนรู้ระหว่างที่ต้องทำงานไปด้วยนั้นก็ย่อมเป็นเรื่องยากมากกว่า ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่ได้แชร์ให้กับประชาชนในเว็ปไซต์นี้ จะช่วยให้ท่านทั้งหลายสามารถสอบผ่านวิชากฎหมายต่าง ๆ ได้โดยง่าย  

   อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่รวบรวมไว้ทั้งหมดในเว็ปไซต์นี้ ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ ที่เป็นนัยยะพิเศษกับทางมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือส่วนของคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการสรุปเนื้อหาต่าง ๆ จากความรู้ความเข้าใจของผู้จัดทำที่เคยได้ศึกษาร่ำเรียนมาแล้วเท่านั้น

เก็งความรู้ทุกรายวิชา มสธ. มาอ่านกัน...

ที่ดินของรัฐ ที่ดินของเอกชน หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ใบจอง หนังสือรับรองการทำประโยชน์ โฉนดที่ดิน ปฏิรูปที่ดิน กรรมสิทธิในอาคารชุด

ส่วนควบ ดอกผล ทรัพยสิทธิ บุคคลสิทธิ กรรมสิทธิ์ กรรมสิทธิ์รวม สิทธิครอบครอง ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพัน

ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ รับของโจร บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ ความผิดลหุโทษ

ความผิดต่อชีวิต ฆ่าผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่น ประมาท กระทำชำเรา อนาจาร แท้งลูก ทิ้งเด็ก ข่มขืนใจ หน่วงเหนี่ยว พรากผู้เยาว์ หมื่นประมาท

ความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ศาสนา ความมั่นคง การประทุษร้าย ร่างกาย เสรีภาพ หมิ่นประมาท ก่อการร้าย ความผิดกระทำต่อเจ้าหน้าที่ ตำแหน่งราชการ การปลอมเเปลง

เหตุยกเว้นความผิดอาญา ป้องกัน จำเป็น ยกเว้นโทษ ลดโทษ บันดาลโทสะ ตัวการ ผู้สนับสนุน ตัวการ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน

ลักษณะกฎหมายอาญา อาชญากรรม อาชญากร ความรับผิดอาญา องค์​ประกอบความผิด เจตนา ประมาท ผลโดยตรง พยายามกระทำความผิด บรรลุผลอย่างแน่เเท้

การสืบพยาน วัตถุพยาน นิติเวช ชีววิทยา ศาลเอาวชนและครอบครัว การจับกุม สอบสวน ผัดฟ้อง การซักพยาน ระบบไต่สวน คดีทางการเมือง

ชันสูตรพลิกศพ อำนาจฟ้องคดีอาญา อายุความอาญา คดีเเพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา ไต่สวนมูลฟ้อง พิจารณาคดีชั้นต้น พิพากษา อุทธรณ์ ฎีกา พยานหลักฐานอาญา

อำนาจสืบสวน สอบสวน หมายเรียก หมายอาญา หมายจับ ควบคุม ขัง จำคุก ปล่อยชั่วคราว คำร้องทุกข์ คำกล่าวโทษ เเผนป้องกันอาชญากรรม

อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์ ล้มละลาย ยกเลิกล้มละลาย พิทักษ์ทรัพย์ ประชุมเจ้าหนี้ ขอรับชำระหนี้ การฟื้นฟูกิจการ แผนฟื้นฟูกิจการ

การฟ้อง ทิ้งฟ้อง ถอนฟ้อง คำให้การ ฟ้องแย้ง ชี้สองสถาน คดีมโนสาเร่ อนุญาโตตุลาการ ขาดนัดยื่นคำให้การ ขาดนัดพิจารณา พิจารณาคดีใหม่ อุทธรณ์ฎีกา บังคับคดี

พยานหลักฐาน ประเด็นข้อพิพาท ปัญหาข้อเท็จจริง ปัญหาข้อกฎหมาย ภาระการพิสูจน์ ภาระการนำสืบ การรับฟังพยานบุคคลคดีเเพ่ง พยานบอกเล่า การชั่งน้ำหนักพยาน

คำพิพากษา คำสั่ง การจำหน่ายคดี การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ คำพิพากษาผูกพันคู่ความ ฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อน ค่าฤชาธรรมเนียม สิทธิอุทธรณ์ฎีกา

ขั้นตอนการดำเนินคดีแพ่ง การสืบพยาน การยื่นคำให้การ ฟ้องแย้ง การเสนอคดีต่อศาล คำคู่ความ คำร้องขอ คำฟ้อง อำนาจหน้าที่ศาล เขตอำนาจศาล การพิจารณาคดี

การแบ่งมรดก สิทธิในการรับมรดก ทายาทโดยธรรม การรับมรดกแทนที่ พินัยกรรม ทายาทโดยพินัยกรรม อายุความ การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก

การหมั้น สมรส ทรัพย์สินสามีภริยา หน้าที่บิดามารดากับบุตรและผู้ปกครอง บุตรบุญธรรม มรดก ทายาท การรับมรดกแทนที่ พนัยกรรม อายุความ

รับช่วงสิทธิ การโอนสิทธิเรียกร้อง ชำระหนี้ ปลดหนี้ หักลบกลบหนี้ ละเมิด ยกเว้นความรับผิด การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้

หนี้ ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ บ่อเกิดแห่งหนี้ บังคับชำระหนี้ สิทธิยึดหน่วง สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ เพิกถอนการฉ้อฉล บุริมสิทธิ เป็นต้น

การเขียนตอบโดยใช้หลักการเขียน 3 ส่วน เป็นการตอบคำถามเชิงวิเคราะห์ที่มีข้อกฎหมายมาประกอบข้อเท็จจริงในคำถามเพื่อให้การตอบนั้นสมบูรณ์มากขึ้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้