Last updated: 13 พ.ค. 2566 | 265 จำนวนผู้เข้าชม |
กฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ1 ลักษณะ2
หมวด 2
นิติบุคคล
ส่วนที่ 1
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
มาตรา 65 นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
**หมายเหตุ มาตรา 65 “ให้องค์กรหรือหน่วยงานที่กฎหมายให้เป็นทบวงการเมืองตาม
มาตราความหมายของมาตรา 72 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งถูกยกเลิกโดยมาตรา 3
(1) แห่งพระราชบัญญัตินี้ คงมีฐานะเป็นนิติบุคคลต่อไป” (มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้
บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราช
กิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ
หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 67 ภายใต้บังคับ มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
มาตรา 68 ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ
หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 69 ในกรณีที่นิติบุคคลมีที่ตั้งทำการหลายแห่งหรือมีสำนักงานสาขา ให้ถือว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้ง
ของที่ทำการหรือของสำนักงานสาขาเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั้นด้วย
มาตรา 70 นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคนทั้งนี้ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสาร
จัดตั้งจะได้กำหนดไว้
ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล
มาตรา 71 ในกรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน การดำเนินกิจการของนิติบุคคลให้เป็นไปตามเสียง
ข้างมากของผู้แทนของนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะได้มีข้อกำหนดไว้เป็นประการอื่นในกฎหมาย
ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 72 การเปลี่ยนตัวผู้แทนของนิติบุคคล หรือการจำกัดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้แทน
ของนิติบุคคล ให้มีผลต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งแล้ว แต่จะยกขึ้น
เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตมิได้
มาตรา 73 ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคล และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อย
ตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาล
จะแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นก็ได้
มาตรา 74 ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการ
อันใด ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้
มาตรา 75 ถ้ากรณีตาม มาตรา 74 เป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของนิติบุคคลเหลืออยู่ หรือผู้แทนของ
นิติบุคคลที่เหลืออยู่มีจำนวนไม่พอจะเป็นองค์ประชุมหรือไม่พอจะกระทำการอันนั้นได้ หาก
กฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นมิได้มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น
ให้นำความใน มาตรา 73 มาใช้บังคับเพื่อตั้งผู้แทนเฉพาะการโดยอนุโลม
มาตรา 76 ถ้าการกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ
ความเสียหายนั้น แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย
ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจ
หน้าที่ของนิติบุคคลบรรดา บุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้
เป็นผู้กระทำการดังกล่าว ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายนั้น
มาตรา 77 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพัน
ระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคลและระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคล
ภายนอกโดยอนุโลม
ส่วนที่ 2
สมาคม
มาตรา 78 การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการ
หาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายนี้
**หมายเหตุ มาตรา 78 “ให้บรรดาสมาคมที่ได้ให้บรรดาสมาคมที่ได้มีประมวลกฎ
หมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมตามบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้” (มาตรา 8
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1
วันที่ 8 เมษายน 2535)
มาตรา 79 ข้อบังคับของสมาคม อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ชื่อสมาคม
(2) วัตถุประสงค์ของสมาคม
(3) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง
(4) วิธีรับสมาชิก และการขาดจากสมาชิกภาพ
(5) อัตราค่าบำรุง
(6) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของสมาคม ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้ง
กรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการ
ประชุมของคณะกรรมการ
(7) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคม การบัญชี และทรัพย์ของสมาคม
(8) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่
**หมายเหตุ มาตรา 79 “สมาคมตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง สมาคมใด มีวิธีจัดการโดยไม่มี
คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตามมาตรา 79 (6) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ถ้าสมาคมนั้นไม่ดำเนินการยื่นคำขอแก้ไข
ข้อบังคับของสมาคมและจัดให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมภายในสองปีนับแต่
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียน” (มาตรา 9
แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้พระราชบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้
ตรวจตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
มาตรา 80 สมาคมต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า "สมาคม" ประกอบกับชื่อของสมาคม
**หมายเหตุ มาตรา 80 “สมาคมใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “สมาคม” ประกอบกับชื่อ ของสมาคม
ให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา 80 แห่งประมวลกฎหมายกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติ
นี้ใช้บังคับ” (มาตรา 80 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42
หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
มาตรา 81 การขอจดทะเบียนสมาคมนั้นให้ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
ร่วมกันยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น
พร้อมกับแนบข้อบังคับของสมาคม รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน
และรายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมมากับคำขอด้วย
**หมายเหตุ มาตรา 81 “สมาคมตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง สมาคมใดมีสมาชิกไม่ถึงสิบคน
หากสมาคมนั้นไม่ได้จัดให้มีจำนวนสมาชิกตามมาตรา 81 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้
นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนตามมาตรา 102 (5) แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้” (มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้
บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราช
กิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
มาตรา 82 เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอจดทะเบียนพร้อมทั้งข้อบังคับแล้วเห็นว่าคำขอนั้นถูกต้อง
ตาม มาตรา 81 และข้อบังคับถูกต้องตาม มาตรา 79 และวัตถุประสงค์ของสมาคมไม่ขัดต่อ
กฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน
หรือความมั่นคงของรัฐ และรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ของสมาคม และผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมนั้นมีฐานะและความประพฤติเหมาะสม ในการ
ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดง
การจดทะเบียนให้แก่สมาคมนั้นและประกาศการจัดตั้งสมาคมในราชกิจจานุเบกษา
ถ้านายทะเบียนเห็นว่าคำขอหรือข้อบังคับไม่ถูกต้องตาม มาตรา 81 หรือ มาตรา 79 หรือ
รายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม หรือผู้จะเป็น
กรรมการของสมาคมมีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
ของสมาคม ให้มีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อแก้ไขหรือ
เปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมนั้น
ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อ
กฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน
หรือความมั่นคงของรัฐ หรือผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายใน
สามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของนายทะเบียน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและ
แจ้ง คำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนไปยังผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนโดยมิชักช้า
ผู้ยื่นคำของจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับ
แจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียน
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งคำวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์
ทราบภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับหนังสืออุทธรณ์ คำวินิจฉัยของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด
มาตรา 83 สมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
มาตรา 84 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่
และสมาคมต้องนำข้อบังคับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงาน
ใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ลงมติและให้นำความใน มาตรา 82 มาใช้
บังคับโดยอนุโลม เมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนแล้วให้มีผลใช้บังคับได้
มาตรา 85 การแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
ให้กระทำตามข้อบังคับของสมาคม และสมาคมต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่
สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลง
กรรมการของสมาคม
ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของสมาคมตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีฐานะหรือความประพฤติ
ไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียน
กรรมการของสมาคมผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคม
นายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้สมาคมทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำขอ
จดทะเบียน และให้นำความใน มาตรา 82 วรรคสี่และวรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่ ถ้าข้อบังคับของสมาคม
มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้กรรมการของสมาคมชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคม
ต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่
มาตรา 86 คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตามกฎหมายและข้อบังคับ
ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่
มาตรา 87 คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก
มาตรา 88 บรรดากิจการที่คณะกรรมการของสมาคมได้กระทำไปแม้จะปรากฏในภายหลังว่ามี
ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตั้งหรือคุณสมบัติของกรรมการของสมาคม กิจการนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์
มาตรา 89 สมาชิกของสมาคมมีสิทธิที่จะตรวจตรากิจการและทรัพย์สินของสมาคมในระหว่างเวลา
ทำการของสมาคมได้
มาตรา 90 สมาชิกของสมาคมต้องชำระค่าบำรุงเต็มจำนวนในวันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือในวัน
เริ่มต้นของระยะเวลาชำระค่าบำรุงแล้วแต่กรณี เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 91 สมาชิกของสมาคมจะลาออกจากสมาคมเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะ
กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 92 สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบในหนี้ของสมาคมไม่เกินจำนวนค่าบำรุงที่สมาชิกนั้น
ค้างชำระอยู่
มาตรา 93 คณะกรรมการของสมาคมต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญอย่างน้อยปีละครั้ง
มาตรา 94 คณะกรรมการของสมาคมจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็สุดแต่จะเห็นสมควร
สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือสมาชิกจำนวนไม่
น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับจะทำหนังสือร้องขอ
ต่อคณะกรรมการของสมาคมให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้ ในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่า
ประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด
เมื่อคณะกรรมการของสมาคมได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญตาม
วรรคสอง ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยจัดให้มีการประชุมขึ้น
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ
ถ้าคณะกรรมการของสมาคมไม่เรียกประชุมภายในระยะเวลาตามวรรคสาม สมาชิกที่
เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมหรือสมาชิกอื่นรวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนสมาชิกที่กำหนด
ตามวรรคสองจะเรียกประชุมเองก็ได้
มาตรา 95 ในการเรียกประชุมใหญ่ คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยัง
สมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หรือลงพิมพ์
โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่
น้อยกว่าเจ็ดวันก็ได้
การเรียกประชุมใหญ่ต้องระบุสถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระการประชุมและจัดส่ง
รายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามควรไปพร้อมกันด้วยสำหรับการเรียกประชุมใหญ่โดยการ
พิมพ์โฆษณา รายละเอียดและเอกสารดังกล่าวต้องจัดไว้และพร้อมที่จะมอบให้แก่สมาชิกที่ร้อง
ขอ ณ สถานที่ที่ผู้เรียกประชุมกำหนด
มาตรา 96 การประชุมใหญ่ของสมาคมต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
สมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดองค์ประชุมไว้เป็นอย่างอื่น
ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้และการประชุมใหญ่นั้น
ได้เรียกตามคำร้องขอของสมาชิกก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่ที่สมาชิกมิได้เป็น
ผู้ร้องขอ ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งโดยจัดให้มีการประชุมขึ้น
ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจำต้องครบ
องค์ประชุม
มาตรา 97 มติของที่ประชุม ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่กรณีที่ข้อบังคับของ
สมาคมกำหนดเสียงข้างมากไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ
สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธาน
ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา 98 สมาชิกจะมอบอำนาจให้สมาชิกผู้ใดมาเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้
เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
มาตรา 99 ในกรณีที่จะมีมติในเรื่องใด ถ้าส่วนได้เสียของกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมผู้ใดขัด
กับประโยชน์ได้เสียของสมาคมกรรมการ หรือสมาชิกของสมาคมผู้นั้นจะออกเสียงลงคะแนนใน
เรื่องนั้นไม่ได้
มาตรา 100 ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าได้มีการนัดประชุมหรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตามหรือ
ฝ่าฝืนข้อบังคับของสมาคมหรือบทบัญญัติในส่วนนี้ สมาชิกหรือพนักงานอัยการอาจร้องขอให้
ศาลสั่งเพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ครั้งนั้นได้ แต่ต้องร้องขอต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่
วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ
มาตรา 101 สมาคมย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
(1) เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ
(2) ถ้าสมาคมตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น
(3) ถ้าสมาคมตั้งขึ้นเพื่อกระทำกิจการใด เมื่อกิจการนั้นสำเร็จแล้ว
(4) เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก
(5) เมื่อสมาคมล้มละลาย
(6) เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนตาม มาตรา 102
(7) เมื่อศาลสั่งให้เลิกตาม มาตรา 104
มาตรา 102 ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อปรากฏในภายหลังการจดทะเบียนว่าวัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อกฎหมาย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือ
ความมั่นคงของรัฐและนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้วแต่สมาคมไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่
นายทะเบียนกำหนด
(2) เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ
(3) เมื่อสมาคมหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่สองปีขึ้นไป
(4) เมื่อปรากฏว่าสมาคมให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการของสมาคมเป็น
ผู้ดำเนินกิจการของสมาคม
(5) เมื่อสมาคมมีสมาชิกเหลือน้อยกว่าสิบคนมาเป็นเวลาติดต่อกันกว่าสองปี
มาตรา 103 เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้ถอนชื่อสมาคมใดออกจากทะเบียนตาม มาตรา 102 แล้ว
ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสมาคมนั้นโดยมิชักช้าและประกาศการเลิก
สมาคมในราชกิจจานุเบกษา
กรรมการคนหนึ่งคนใดหรือสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนมีสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ โดยทำเป็นหนังสือ
ยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง และให้นำความใน มาตรา 82
วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 104 เมื่อมีกรณีตาม มาตรา 102 ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคม
ออกจากทะเบียนได้ ถ้านายทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอโดยไม่แจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอทราบ
ภายในเวลาอันสมควร หรือนายทะเบียนได้แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้วแต่ผู้ร้องขอไม่พอใจในเหตุผล
ดังกล่าว ผู้ร้องขอนั้นจะร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกสมาคมนั้นเสียก็ได้
มาตรา 105 เมื่อสมาคมมีเหตุต้องเลิกตาม มาตรา 101 (1) (2) (3) หรือ (4) ให้คณะกรรมการของ
สมาคมที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมแจ้งการเลิกสมาคมต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วัน
นับแต่วันที่มีการเลิกสมาคม
ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้สมาคมล้มละลายตาม มาตรา 101 (5)
หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกสมาคมตาม มาตรา 104 ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้
นายทะเบียนทราบด้วย
ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกสมาคมในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 106 ในกรณีที่มีการเลิกสมาคม ให้มีการชำระบัญชีสมาคมและให้นำบทบัญญัติใน บรรพ 3
ลักษณะ 22 ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีสมาคมโดยอนุโลม
มาตรา 107 เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด จะแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคม
นั้นไม่ได้ ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่สมาคมหรือมูลนิธิหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์
เกี่ยวกับการสาธารณกุศลตามที่ได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของสมาคม หรือถ้าข้อบังคับไม่ได้ระบุ
ชื่อไว้ก็ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ แต่ถ้าข้อบังคับของสมาคมหรือที่ประชุมใหญ่มิได้ระบุ
ผู้รับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หรือระบุไว้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้ ให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นตก
เป็นของแผ่นดิน
มาตรา 108 ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับสมาคมที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ หรือจะขอให้
นายทะเบียนคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน
และเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้นายทะเบียนปฏิบัติตามคำขอนั้น
มาตรา 109 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามบทบัญญัติในส่วนนี้ และให้มีอำนาจ
แต่งตั้งนายทะเบียน กับออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับ
(1) การยื่นคำขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียน
(2) ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน การขอตรวจเอกสาร การคัดสำเนาเอกสาร และ
ค่าธรรมเนียมการขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสมาคม รวมทั้งการยกเว้นค่าธรรม
เนียมดังกล่าว
(3) การดำเนินกิจการของสมาคมและการทะเบียนสมาคม
(4) การอื่นใดเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนนี้
กฎกระทรวงนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
**หมายเหตุ มาตรา 109 “บรรดากฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 97 และมาตรา
1297 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้
ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้
ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้” (มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109
ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
17 พ.ค. 2566
17 พ.ค. 2566
17 พ.ค. 2566
12 พ.ค. 2566