ชุติมา

ชุติมา

ผู้เยี่ยมชม

  ทดลองงาน 6 เดือน (6424 อ่าน)

22 ต.ค. 2561 11:07

บริษัทให้ทดลองงาน 6 เดือนค่ะ แต่ว่าไม่ผ่าน บริษัทแจ้งเเค่ว่าให้หางานใหม่ เเต่เราทำงานมาตั้งนาน 6 เดือนจะเรียกค่าอะไรได้มั๊ยค่ะ

ชุติมา

ชุติมา

ผู้เยี่ยมชม

ประสิตา(ที่ปรึกษากฎหมาย)

ประสิตา(ที่ปรึกษากฎหมาย)

ผู้ดูแล

22 ต.ค. 2561 16:55 #1

บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้คุณค่ะ เพราะกฎหมายระบุว่าหากลูกจ้างทำงานเกิน 120 วัน แล้วเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย ถือเป็นการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

แต่ถ้าทำงานไม่ถึง 120 วัน แล้วเขาแจ้งว่าไม่ผ่านโปร อย่างนี้จะได้รับแค่เงินเดือนในเดือนที่ทำ ไม่มีค่าชดเชย แต่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า หากไม่บอกกล่าวต้องจ่ายสินจ้างทดแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าค่ะ





หมายเหตุ : การให้คำแนะนำทางกฎหมาย เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นเท่านั้นทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับ ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดีนั้นด้วย
--------------------------------------------------------
PRASITA 'S LAW CONSULTANT
ประสิตา ลอว์ คอนซัลแตนท์
ที่ปรึกษา แนะนำ และทำความเห็นด้านกฎหมาย

ประสิตา(ที่ปรึกษากฎหมาย)

ประสิตา(ที่ปรึกษากฎหมาย)

ผู้ดูแล

ประสิตา(ที่ปรึกษากฎหมาย)

ประสิตา(ที่ปรึกษากฎหมาย)

ผู้ดูแล

12 ก.ย. 2562 18:02 #2

พนักงานทดลองงาน หมายถึง พนักงานใหม่ที่บริษัทรับเข้ามาทำงานในตำแหน่งใด ตำแหน่งหนึ่งในบริษัท โดยมีระยะเวลาในการพิสูจน์ความรู้ความสามารถของพนักงานคนดังกล่าว ว่าเหมาะสมกับตำแหน่งงานนั้นๆหรือไม่ ก่อนจะบรรจุเป็นพนักงานประจำ

โดยกฎหมายไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลาของ การทดลองงาน ไว้โดยชัดเจน ดังนั้น นายจ้างจึงมีสิทธิทดลองงานเท่าใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับพนักงาน



ระยะเวลาทดลองงานโดยส่วนใหญ่ จะกำหนดไว้ที่ 120 วัน เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ม.118(1) กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งทำงาน ครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ในอัตราไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน (เช่น ก่อนแจ้งไม่ผ่านทำลองงาน พนักงานรับเงินเดือนอยู่เดือนละ 15000บาท ค่าชดเชยที่บริษัทต้องจ่ายให้พนักงาน จึงเท่ากับ 15000 บาท)

ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งพนักงานทดลองงาน หรือ พนักงานประจำ ก็เป็นพนักงาน สัญญาจ้างแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา เช่นเดียวกัน เพราะไม่มีการระบุวันสิ้นสุดของสัญญาจ้างโดยชัดเจน ดังนั้นสัญญาจ้างทั้ง 2 แบบจะสิ้นสุดลง ต่อเมื่อบริษัท หรือ พนักงาน บอกเลิกสัญญา (พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 17)

พนักงานทดลองงาน สามารถจำแนกได้ 2 กรณี ดังนี้

กรณี พนักงานทดลองงาน ทำงานครบ 120 วัน หรือเกินกว่านั้น

แม้บริษัทจะแจ้ง กับพนักงานว่า พนักงานไม่ผ่านทดลองงาน แต่บริษัทยังคงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงาน ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ม.118(1) กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานซึ่งทำงาน ครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ในอัตราไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน (เช่น ก่อนแจ้งไม่ผ่านทำลองงาน พนักงานรับเงินเดือนอยู่เดือนละ 15000บาท ค่าชดเชยที่บริษัทต้องจ่ายให้พนักงาน จึงเท่ากับ 15000 บาท) และอาจจะรวมถึงค่าตกใจ ซึ่งหมายถึง กรณีที่บริษัทต้องการให้พนักงานออกวันนั้นทันที และไม่แจ้งล่วงหน้า 1 เดือนกับพนักงาน ก็อาจจะต้องจ่ายค่าตกใจให้แก่พนักงานด้วย (โดยส่วนใหญ่ ค่าตกใจ จะเท่ากับ เงินเดือน เดือนสุดท้ายของพนักงาน ณ ขณะนั้น)



กรณี พนักงานทดลองงาน ทำงานไม่ถึง 120 วัน

นั่นหมายถึง บริษัท ได้มีการแจ้งให้พนักงานทราบแล้ว ว่าไม่ ผ่านการทดลองงาน ก่อนครบ 120 วัน กรณีดังกล่าวบริษัทไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ ให้แก่พนักงาน แต่หากไม่ได้บอกกล่าว ล่วงหน้า 1 เดือน ก่อนให้ออกนั้น อาจต้องจ่ายค่าตกใจให้แก่พนักงานแทน (โดยส่วนใหญ่ ค่าตกใจ จะเท่ากับ เงินเดือน เดือนสุดท้ายของพนักงาน ณ ขณะนั้น)

ค่าตกใจ ในความหมายของกฎหมายนั้น หมายถึง การจ่ายสินจ้างแทนการบอกล่าวล่วงหน้า การที่บริษัทไม่ได้บอกกล่าวให้พนักงานทราบล่วงหน้า ว่าตนนั้นไม่ผ่านการทดลองงาน แต่กลับให้ออกทันที ซึ่งกฎหมายกำหนดว่าต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน ทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ หรือ พนักงานทดลองงาน ดังนั้น ค่าตกใจ ก็คือ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้นเอง







หมายเหตุ : การให้คำแนะนำทางกฎหมาย เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นเท่านั้นทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับ ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดีนั้นด้วย
--------------------------------------------------------
PRASITA 'S LAW CONSULTANT
ประสิตา ลอว์ คอนซัลแตนท์
ที่ปรึกษา แนะนำ และทำความเห็นด้านกฎหมาย

ประสิตา(ที่ปรึกษากฎหมาย)

ประสิตา(ที่ปรึกษากฎหมาย)

ผู้ดูแล

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้