สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค
ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 4 : พ.ศ. 2562 มาตรา 4)
มาตรา ๔ ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครองดังต่อไปนี้
(๑) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
(๒) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
(๓) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
(๓ ทวิ)[๔] สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
(๔) สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ หรือพระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่สำคัญ มีดังนี้
- กฎหมายว่าด้วยอาหารและยา พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (ฉบับที่ 6 : พ.ศ. 2562)
คุ้มครองดังนี้
- อาหารต้องมีสลากแสดง
- อาหารต้องไม่มีสิ่งอันตรายต่อสุขภาพปลอมปน
- อาหารต้องไม่ปลอม
- บรรจุภัณฑ์และภาชนะต้องสะอาด
- กระบวนการผลิตต้องได้รับมาตราฐาน
- ยาต้องได้มาตรฐานที่เป็นสากล
- ควบคุมการนำเข้า จำหน่าย ทั้งอาหารและยา
- ป้องกันและคุ้มครองการบริโภคยาปลอม ยาเสื่อมคุณภาพ
- โฆษณายาที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง
- อาหารผิดมาตรฐาน มีส่วนปะกอบทางอาหารขาดหรือเกินร้อยละ 30 จากเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ระบุไว้
- ไม่มีส่วนของวตถุมีพิษ
- กฎหมายว่าด้วยเครื่องสำอาง พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
คุ้มครองดังนี้
- ไม่มีอันตรายกับผู้ใช้
- ไม่มีส่วนประกอบวัตถุมีพิษ
- ไม่โฆษณา ใช้ข้อความที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด รวมทั้งต้องแสดงฉลาก ประเภท ชนิด ลักษณะของเครื่องสำอางตามที่กฎหมายกำหนด
- ไม่เป็นเครื่องสำอางปลอม หรือ ผิดมาตรฐาน
- กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พศ 2535 (ฉบับที่ 4 : พ.ศ. 2562)
คุ้มครองดังนี้
- วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์และวัตถุเปอร์ออกไซต์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกำมันตรังสิ วัตถุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอื่นที่อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งเแวดล้อม
- กฎหมายวิธีควบคุมและป้องกัน การผลิต จำหน่าย ขนส่ง นำเข้า ส่งออก
- กฎหมายกำหนดวิธีควบคุมโฆษณาไว้ด้วย ไม่ให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ และสิ่งแวดล้อม อันที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อ 1
- กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
คุ้มครองดังนี้
- คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินถนนทางเท้า
- กฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณ์อุตสาหกรรม พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 (ฉบับที่ 8 : พ.ศ. 2562)
คุ้มครองดังนี้
- ให้ผู้ผลิตยกระดับมาตรฐานการผลิตและบริหารจัดการ ให้ได้สินค้าบริการที่ปลอดภัย
- เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- ป้องกันไม่ให้สินค้าด้อยคุณภาพเข้ามาในประเทศ
- กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอาคาร พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (ฉบับที่ 5 : พ.ศ. 2558)
คุ้มครองดังนี้
- ควบคุมการออกแบบ รื้อถอน ก่อสร้าง ดัดเเปลง เคลื่อนย้าย และใช้อาคาร เพื่อให้ปลอดภัยแก่ผู้ใช้สร้อยและสัญจร
- ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เดือดร้อนรำคาญเเก่ผู้อยู่อาศัย
- กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
คุ้มครองดังนี้
- ควบคุมราคาสินค้าและบริการพื้นฐาน
- ควบคุมวัตถุดิบหรือวัสดุที่นำไปเเปรรูปไม่ให้ราคาต่ำหรือสูงเกินไป
- ควบคุมการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ให้สมดุลกับความต้องการเพื่อป้องกันการผูกขาด
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังนี้
พนักงานเจ้าที่มีอำนาจกระทำการ (ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 5)
มาตรา ๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) นับ ชั่ง ตวง วัด ตรวจสินค้า และเก็บหรือนำสินค้าในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบโดยไม่ต้องชำระราคาสินค้านั้น ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
(๒) ค้น ยึด หรืออายัดสินค้า ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุสินค้า ฉลากหรือเอกสารอื่นที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) เข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อตรวจสอบการผลิตสินค้า การขายสินค้าหรือบริการ รวมทั้งตรวจสอบสมุดบัญชี เอกสาร และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของผู้ประกอบธุรกิจในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) มีหนังสือเรียกให้บุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือส่งเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร