Last updated: 17 พ.ค. 2566 | 247 จำนวนผู้เข้าชม |
กฎหมายแพ่งและพานิชย์
บรรพ 5
ลักษณะ 2
หมวด 3
ความปกครอง
มาตรา 1585 บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง
เสียแล้วนั้น จะจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้
ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนตาม มาตรา 1582วรรค
หนึ่ง ศาลจะตั้งผู้ปกครองในส่วนที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองนั้นก็ได้ หรือในกรณีที่
ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินตาม มาตรา 1582 วรรคสอง ศาลจะตั้ง
ผู้ปกครองเพื่อจัดการทรัพย์สินก็ได้
**วรรคสอง แก้ไขโดย มาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
มาตรา 1586 ผู้ปกครองตาม มาตรา 1585 นั้น ให้ตั้งโดยคำสั่งศาลเมื่อมีการร้องขอของญาติของผู้เยาว์
อัยการ หรือผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ปกครอง
ภายใต้บังคับ มาตรา 1590 การตั้งผู้ปกครองนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาล
ตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม เว้นแต่พินัยกรรมนั้นไม่มีผลบังคับหรือบุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรม
นั้นเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตาม มาตรา 1587
มาตรา 1587 บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่
(1) ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(2) ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
(3) ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมจะที่ปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
(4) ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่
บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์
(5) ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง
** (5) แก้ไขโดย มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
มาตรา 1588 หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตาม
มาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองโดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือ
อัยการร้องขอ ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองนั้นเสีย และมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไป
ตามที่เห็นสมควร
การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอก
ผู้กระทำการโดยสุจริต เว้นแต่ในกรณีการเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองที่ต้องห้ามตาม มาตรา 1587
(1) หรือ (2) การกระทำของผู้ปกครองไม่ผูกพันผู้เยาว์ ไม่ว่าบุคคลภายนอกจะได้กระทำการโดย
สุจริตหรือไม่
**แก้ไขโดย มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
มาตรา 1589 (ยกเลิก)
"ยกเลิกโดย มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
มาตรา 1590 ผู้ปกครองมีได้คราวหนึ่งเพียงคนเดียว แต่ในกรณีมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ตั้งผู้ปกครอง
หลายคน หรือเมื่อมีผู้ร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร ให้ศาลมีอำนาจตั้งผู้ปกครองได้ตามจำนวน
ที่ศาลเห็นว่าจำเป็น ในกรณีที่ตั้งผู้ปกครองหลายคนศาลจะกำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้นกระทำ
การร่วมกัน หรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่งๆ ก็ได้
มาตรา 1591 ความเป็นผู้ปกครองนั้นเริ่มแต่วันทราบคำสั่งตั้งของศาล
มาตรา 1592 ให้ผู้ปกครองรีบทำบัญชีทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองให้เสร็จภายในสามเดือน
นับแต่วันที่ทราบคำสั่งตั้งของศาล แต่ผู้ปกครองจะร้องต่อศาลก่อนสิ้นกำหนดขอให้ยืดเวลาก็ได้
บัญชีนั้นต้องมีพยานรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคนพยานสองคนนั้นต้องเป็น
ผู้บรรลุนิติภาวะและเป็นญาติของผู้อยู่ในปกครอง แต่ถ้าหาญาติไม่ได้ จะให้ผู้อื่นเป็นพยานก็ได้
**มาตรา 1590,1591,1592 แก้ไขโดย มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
มาตรา 1593 ให้ผู้ปกครองยื่นสำเนาบัญชีทรัพย์สินที่ตนรับรองว่าถูกต้องต่อศาลฉบับหนึ่ง
ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้ทำบัญชีทรัพย์สินแล้ว และศาลจะสั่งให้ผู้ปกครองชี้แจงเพิ่มเติมหรือให้นำ
เอกสารมาประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าบัญชีนั้นถูกต้องแล้วก็ได้
ถ้าศาลมิได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันยื่นบัญชี หรือวันชี้แจงเพิ่มเติม
หรือวันนำเอกสารยื่นประกอบแล้วแต่กรณี ให้ถือว่าศาลยอมรับบัญชีนั้นแล้ว
**วรรคสอง แก้ไขโดย มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
มาตรา 1594 ถ้าผู้ปกครองไม่ปฏิบัติเกี่ยวแก่การทำบัญชีทรัพย์สินหรือการยื่นบัญชีทรัพย์สินให้ถูก
ต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1592 หรือ มาตรา 1593 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลซึ่ง
สั่งตาม มาตรา 1593 หรือศาลไม่พอใจในบัญชีทรัพย์สินเพราะทำขึ้นด้วยความเลินเล่ออย่างร้าย
แรง หรือไม่สุจริต หรือเห็นได้ชัดว่าผู้ปกครองหย่อนความสามารถ ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองนั้นเสียก็ได้
มาตรา 1595 ก่อนที่ศาลยอมรับบัญชีนั้น ห้ามมิให้ผู้ปกครองทำกิจการใด เว้นแต่เป็นการเร่งร้อนและ
จำเป็น แต่จะยกข้อห้ามดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่า
ตอบแทนไม่ได้
มาตรา 1596 ถ้ามีหนี้เป็นคุณแก่ผู้ปกครอง แต่เป็นโทษต่อผู้อยู่ในปกครอง หรือเป็นคุณแก่
ผู้อยู่ในปกครอง แต่เป็นโทษต่อผู้ปกครอง ให้ผู้ปกครองแจ้งข้อความเหล่านั้นต่อศาลก่อนลงมือ
ทำบัญชีทรัพย์สิน
ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นคุณแก่ตน แต่เป็นโทษต่อผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความ
นั้นต่อศาล หนี้ของผู้ปกครองนั้นย่อมสูญไป
ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นโทษต่อตน แต่เป็นคุณแก่ผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความ
นั้นต่อศาล ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองก็ได้
มาตรา 1597 เมื่อศาลเห็นสมควรโดยลำพัง หรือเมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรืออัยการร้องขอ ศาลอาจ
สั่งให้ผู้ปกครอง
(1) หาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง ตลอดจนการมอบคืน
ทรัพย์สินนั้น
(2) แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง
มาตรา 1598 ในระหว่างปกครอง ถ้าผู้อยู่ในปกครองได้ทรัพย์สินอันมีค่ามาโดยทางมรดกหรือ
การให้โดยเสน่หา ให้นำ มาตรา 1592 ถึง มาตรา 1597 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
"มาตรา 1598/1 ให้ผู้ปกครองทำบัญชีทรัพย์สินส่งต่อศาลปีละครั้งนับแต่วันเป็นผู้ปกครอง
แต่เมื่อศาลได้รับบัญชีปีแรกแล้ว จะสั่งให้ส่งบัญชีเช่นว่านั้นในระยะเวลาเกินหนึ่งปีก็ได้
"มาตรา 1598/2 ผู้ปกครองมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครองตาม มาตรา 1564
วรรคหนึ่งและ มาตรา 1567
"มาตรา 1598/3 ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้อยู่ในปกครอง
ให้นำ มาตรา 1570 มาตรา 1571มาตรา 1572 มาตรา 1574 มาตรา 1575 มาตรา 1576 และ
มาตรา 1577 มาใช้บังคับแก่ผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครองโดยอนุโลม
"มาตรา 1598/4 เงินได้ของผู้อยู่ในปกครองนั้น ผู้ปกครองย่อมใช้ได้ตามสมควรเพื่อการ
อุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของผู้อยู่ในปกครอง ถ้ามีเหลือให้ใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ เฉพาะ
ในเรื่องต่อไปนี้
(1) ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน
(2) รับขายฝากหรือรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ในลำดับแรก แต่จำนวนเงินที่รับขายฝาก
หรือรับจำนองต้องไม่เกินกึ่งราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้น
(3) ฝากประจำในธนาคารที่ได้ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ในราชอาณาจักร
(4) ลงทุนอย่างอื่นซึ่งศาลอนุญาตเป็นพิเศษ
"มาตรา 1598/5 ถ้าผู้อยู่ในปกครองรู้จักผิดชอบและมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ เมื่อ
ผู้ปกครองจะทำกิจการใดที่สำคัญ ให้ปรึกษาหารือผู้อยู่ในปกครองก่อนเท่าที่จะทำได้
การที่ผู้อยู่ในปกครองได้ยินยอมด้วยนั้น หาคุ้มผู้ปกครองให้พ้นจากความรับผิดไม่
"มาตรา 1598/6 ความปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้อยู่ในปกครองตายหรือบรรลุนิติภาวะ
"มาตรา 1598/7 ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้ปกครอง
(1) ตาย
(2) ลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล
(3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) เป็นบุคคลล้มละลาย
(5) ถูกถอนโดยคำสั่งศาล
"มาตรา 1598/8 ให้ศาลสั่งถอนผู้ปกครองในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ผู้ปกครองละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่
(2) ผู้ปกครองประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่
(3) ผู้ปกครองใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
(4) ผู้ปกครองประพฤติมิชอบซึ่งไม่สมควรแก่หน้าที่
(5) ผู้ปกครองหย่อนความสามารถในหน้าที่จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ประโยชน์ของผู้อยู่
ในปกครอง
(6) มีกรณีดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 1587 (3) (4) หรือ (5)
**มาตรา 1598/6,1598/8 แก้ไขโดย มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
"มาตรา 1598/9 การร้องขอให้ถอนผู้ปกครองตาม มาตรา 1598/8 นั้น ผู้อยู่ในปกครองซึ่ง
มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือญาติของผู้ในปกครอง หรืออัยการจะเป็นผู้ร้องขอก็ได้
"มาตรา 1598/10 ในระหว่างพิจารณาคำร้องขอให้ถอนผู้ปกครอง ศาลจะตั้งผู้จัดการ
ชั่วคราวให้จัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองแทนผู้ปกครองก็ได้
"มาตรา 1598/11 ถ้าความปกครองหรือความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลง ให้ผู้ปกครองหรือ
ทายาทรีบส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการแก่ผู้อยู่ในปกครอง หรือทายาท หรือผู้ปกครองคนใหม่ และให้
ทำบัญชีในการจัดการทรัพย์สินส่งมอบภายในเวลาหกเดือน และถ้ามีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องจัดการ
ทรัพย์สินนั้นก็ให้ส่งมอบพร้อมกับบัญชี แต่เมื่อผู้ปกครองหรือทายาทร้องขอ ศาลจะสั่งให้ยืดเวลา
ก็ได้
ให้นำ มาตรา 1580 และ มาตรา 1581 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
"มาตรา 1598/12 นับแต่วันส่งมอบบัญชี ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินซึ่งผู้ปกครองหรือ
ผู้อยู่ในปกครองจะต้องคืนให้แก่กัน
ถ้าผู้ปกครองใช้เงินของผู้อยู่ในปกครองนอกจากเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครองแล้ว
ให้เสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีในจำนวนเงินนั้นตั้งแต่วันใช้เป็นต้นไป
"มาตรา 1598/13 ผู้อยู่ในปกครองมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ปกครองเพื่อ
ชำระหนี้ซึ่งค้างอยู่แก่ตน
บุริมสิทธินี้ให้อยู่ในลำดับที่หกถัดจากบุริมสิทธิสามัญอย่างอื่นตาม มาตรา 253 แห่ง
ประมวลกฎหมายนี้
"มาตรา 1598/14 ผู้ปกครองไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
(1) มีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้ปกครอง
ได้รับบำเหน็จเท่าที่กำหนดในพินัยกรรม
(2) ในกรณีที่พินัยกรรมไม่ได้กำหนดบำเหน็จไว้ แต่ไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครองรับ
บำเหน็จ ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่
เพียงใดก็ได้
(3) ในกรณีที่ไม่มีคำสั่งตั้งผู้ปกครองไว้ในพินัยกรรม และไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครอง
รับบำเหน็จ ศาลจะกำหนดบำเหน็จให้แก่ผู้ปกครองในคำสั่งตั้งผู้ปกครองก็ได้ หรือถ้าศาลมิได้
กำหนด ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่
เพียงใดก็ได้
ในการพิจารณากำหนดบำเหน็จ ให้ศาลพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ รายได้ และฐานะ
ความเป็นอยู่ของผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครอง
ถ้าผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองแสดงได้ว่าพฤติการณ์รายได้ หรือฐานะความเป็นอยู่
ของผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังที่ได้เข้ารับหน้าที่ผู้ปกครอง ศาลจะ
สั่งให้บำเหน็จ งด ลด เพิ่ม หรือกลับให้บำเหน็จแก่ผู้ปกครองอีกก็ได้ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับ
แก่กรณีที่มีข้อกำหนดห้ามไว้ในพินัยกรรมมิให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จด้วย
"มาตรา 1598/15 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและภริยา
หรือสามีเป็นผู้อนุบาล ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับ
โดยอนุโลมเว้นแต่สิทธิตาม มาตรา 1567 (2) และ (3)
**แก้ไขโดย มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
"มาตรา 1598/16 คู่สมรสซึ่งเป็นผู้อนุบาลของคู่สมรสที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความ
สามารถมีอำนาจจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง และมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว
แต่การจัดการสินส่วนตัวและสินสมรสตามกรณีที่ระบุไว้ใน มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง คู่สมรสนั้น
จะจัดการไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
"มาตรา 1598/17 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและศาล
เห็นไม่สมควรให้คู่สมรสเป็นผู้อนุบาล และตั้งบิดาหรือมารดาหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาล
ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้อนุบาลเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันกับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง เว้นแต่ถ้ามี
เหตุสำคัญอันจะเกิดความเสียหายแก่คนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาล
ให้สั่งแยกสินสมรสได้
"มาตรา 1598/18 ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้อนุบาลบุตร ถ้าบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าบุตรนั้น
บรรลุนิติภาวะแล้ว ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับ
โดยอนุโลม เว้นแต่สิทธิตาม มาตรา 1567 (2) และ (3)
ในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาล ให้นำบทบัญญัติว่า
ด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าผู้อยู่ในความอนุบาล
บรรลุนิติภาวะแล้ว จะใช้สิทธิตาม มาตรา 1567 (2) และ (3) ไม่ได้
หมวด 4
บุตรบุญธรรม
"มาตรา 1598/19 บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีจะรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้
แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี
**มาตรา 1598/18,1598/19 แก้ไขโดย มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประ
มวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
"มาตรา 1598/20 การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี
ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย
"มาตรา 1598/21 การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของ
บิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอน
อำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง
ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หรือมีแต่บิดาหรือมารดาคนใด
คนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้หรือไม่ให้ความยินยอมและการ
ไม่ให้ความยินยอมนั้นปราศจากเหตุผลอันสมควรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพ ความเจริญหรือ
สวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอ
ต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมตามวรรคหนึ่งก็ได้
"มาตรา 1598/22 ในการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม ถ้าผู้เยาว์เป็นผู้ถูกทอดทิ้งและอยู่
ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก ให้
สถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมแทนบิดาและมารดา ถ้าสถานสงเคราะห์เด็กไม่ให้
ความยินยอม ให้นำความใน มาตรา 1598/21 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
"มาตรา 1598/23 ในกรณีที่ผู้เยาว์มิได้ถูกทอดทิ้ง แต่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถาน
สงเคราะห์ เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก บิดาและมารดา หรือบิดา หรือ
มารดาในกรณีที่มารดา หรือบิดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง จะทำหนังสือมอบ
อำนาจให้สถานสงเคราะห์เด็กดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับผู้เยาว์เป็นบุตร
บุญธรรมแทนตนก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นให้นำความใน มาตรา 1598/22 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หนังสือมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งจะถอนเสียมิได้ตราบเท่าที่ผู้เยาว์ยังอยู่ในความอุปการะ
เลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กนั้น
"มาตรา 1598/24 ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทนสถานสงเคราะห์เด็กในการรับบุตร
บุญธรรมตามมาตรา 1598/22 หรือ มาตรา 1598/23 จะรับผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแลหรืออยู่ในความ
อุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองได้ต่อเมื่อศาลได้มีคำสั่ง
อนุญาตตามคำขอของผู้นั้น แทนการให้ความยินยอมของสถานสงเคราะห์เด็ก
"มาตรา 1598/25 ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้อง
ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้หรือไปเสียจาก
ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง
อนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น
**มาตรา 1598/21,1598/22,1598/23,1598/24,1598/25 แก้ไขโดย มาตรา 53 แห่งพระ
ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107
ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
"มาตรา 1598/26 ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของ
บุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
เป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วย จะต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอยู่
แล้วและมิให้นำ มาตรา 1598/21 มาใช้บังคับ
**วรรคสอง เพิ่มเติมโดย มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
"มาตรา 1598/27 การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตร
บุญธรรมก่อน
**แก้ไขโดย มาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
"มาตรา 1598/28 บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของ
ผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นแต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ให้บิดา
มารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
ให้นำบทบัญญัติใน ลักษณะ 2 หมวด 2 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
"มาตรา 1598/29 การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม
ในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น
"มาตรา 1598/30 ถ้าบุตรบุญธรรมซึ่งไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดานตายก่อนผู้รับบุตร
บุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรมคืนจาก
กองมรดกของบุตรบุญธรรมเพียงเท่าที่ทรัพย์สินนั้นยังคงเหลืออยู่ภายหลังที่ชำระหนี้ของกอง
มรดกเสร็จสิ้นแล้ว
ห้ามมิให้ฟ้องคดีเรียกร้องสิทธิตามวรรคหนึ่งเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตร
บุญธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบุตรบุญธรรม หรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่บุตร
บุญธรรมตาย
"มาตรา 1598/31 การเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วจะเลิก
โดยความตกลงกันในระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้
ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับ
ความยินยอมของบิดาและมารดา และให้นำ มาตรา 1598/20 และ มาตรา 1598/21 มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
ในกรณีที่ได้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมตาม มาตรา 1598/21 วรรคสอง มาตรา1598/22
มาตรา 1598/23 มาตรา 1598/24 หรือ มาตรา 1598/26 วรรคสอง ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติ
ภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมให้กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องขอของผู้มีส่วนได้เสีย หรือ
อัยการ
การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
**วรรคสาม แก้ไขโดย มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
"มาตรา 1598/32 การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิก เมื่อมีการสมรสฝ่าฝืน
มาตรา 1451
"มาตรา 1598/33 คดีฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้นเมื่อ
(1) ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
อับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินควร
อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
(2) ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งอัน
เป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตรบุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับ
บุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
(3) ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการี หรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง
เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรง และการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มี
โทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
(4) ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
(5) ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
(6) ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดย
ประมาท อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
(7) ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็นการละเมิดหรือ
ไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 1564 มาตรา 1571 มาตรา 1573 มาตรา 1574 หรือ มาตรา 1575 เป็น
เหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
(8) ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด และเหตุที่ถูกถอน
อำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นไม่สมควรเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป
บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
(9) (ยกเลิก)
**มาตรา 1598/33 (1)(2)และ(3) แก้ไขโดย มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน
2533)
**มาตรา 1598/33 (8) แก้ไขโดย มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน
2533)
**มาตรา 1598/33 (9) แก้ไขโดย มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน
2533)
"มาตรา 1598/34 ห้ามมิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับ
แต่วันที่ผู้ขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมรู้ หรือควรได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกการนั้น หรือเมื่อ
พ้นกำหนดสิบปีนับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น
"มาตรา 1598/35 การฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ครบ
สิบห้าปีบริบูรณ์ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องแทน แต่ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุ
สิบห้าปีบริบูรณ์แล้วบุตรบุญธรรมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใด
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง อัยการจะฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมก็ได้
**มาตรา 1598/35 แก้ไขโดย มาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
"มาตรา 1598/36 การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล ย่อมมีผลแต่เวลาที่
คำพิพากษาถึงที่สุดแต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่
ได้จดทะเบียนแล้ว
"มาตรา 1598/37 เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรม
ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมตาย
หรือนับแต่เวลาที่จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/31 หรือนับแต่เวลาที่ศาลมี
คำพิพากษาถึงที่สุดให้เลิกการรับบุตรบุญธรรม เว้นแต่ศาลเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น
ในกรณีที่มีการตั้งผู้ปกครองของผู้เป็นบุตรบุญธรรมไว้ก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือก่อน
การเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้ผู้ปกครองยังคงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไป เว้นแต่บิดามารดาโดยกำเนิด
จะร้องขอ และศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอเป็นผู้มีอำนาจปกครอง
การเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจปกครองตามวรรคหนึ่งหรือผู้ปกครองตามวรรคสองไม่เป็นเหตุเสื่อมสิทธิ
ที่บุคคลภายนอกได้มาโดยสุจริตก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือก่อนจดทะเบียนเลิกการรับ
บุตรบุญธรรม
ให้พนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเป็นประการอื่นตามวรรคหนึ่ง
**มาตรา 1598/37 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551
ลักษณะ 3
ค่าอุปการะเลี้ยงดู
"มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้น
ย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดู ไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการ
อุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้
โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งกรณี
"มาตรา 1598/39 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้
เปลี่ยนแปลงไปศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่า
อุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้
ในกรณีที่ศาลไม่พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะเหตุแต่เพียงอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ใน
ฐานะที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ในขณะนั้น หากพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของอีกฝ่ายหนึ่ง
นั้นได้เปลี่ยนแปลงไป และพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของผู้เรียกร้องอยู่ในสภาพที่ควรได้รับค่า
อุปการะเลี้ยงดู ผู้เรียกร้องอาจร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งในคดีนั้นใหม่ได้
"มาตรา 1598/40 ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น ให้ชำระเป็นเงินโดยวิธีชำระเป็นครั้งคราวตาม
กำหนด เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้ชำระเป็นอย่างอื่น ถ้าไม่มีการตกลงกันและมีเหตุพิเศษ เมื่อฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและศาลเห็นสมควร จะกำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีอื่น
โดยจะให้ชำระเป็นเงินด้วยหรือไม่ก็ได้
ในกรณีขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เมื่อมีเหตุพิเศษ และศาลเห็นเป็นการสมควรเพื่อ
ประโยชน์แก่บุตร จะกำหนดให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการใดๆ นอกจากที่คู่กรณี
ตกลงกัน หรือนอกจากที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอก็ได้ เช่น ให้ไปอยู่ในสถานการศึกษา หรือวิชาชีพ
โดยให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูออกค่าใช้จ่ายในการนี้
"มาตรา 1598/41 สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น จะสละ หรือโอนมิได้ และไม่อยู่
ในข่ายแห่งการบังคับคดี
17 พ.ค. 2566
17 พ.ค. 2566
12 พ.ค. 2566
17 พ.ค. 2566