กฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ5 ลักษณะ2 หมวด1,2

Last updated: 16 พ.ค. 2566  |  254 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ5 ลักษณะ2 หมวด1,2

               กฎหมายแพ่งและพานิชย์

               บรรพ 5

               ลักษณะ 2
               บิดามารดากับบุตร
               หมวด 1
               บิดามารดา
 
               มาตรา 1536 เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชาย หรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่
การสมรสสิ้นสุดลง  ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคย
เป็นสามีแล้วแต่กรณี
               ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิง ก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น
               มาตรา 1537 ในกรณีที่หญิงทำการสมรสใหม่นั้นเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 1453 และคลอดบุตร
ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กที่เกิดแต่หญิงนั้นเป็น
บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ และห้ามมิให้นำข้อสันนิษฐานใน มาตรา 1536
ที่ว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีเดิมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ เว้นแต่มีคำพิพากษาของศาล
แสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่นั้น
               มาตรา 1538 ในกรณีที่ชายหรือหญิงสมรสฝ่าฝืน มาตรา 1452 เด็กที่เกิดในระหว่างการสมรส
ที่ฝ่าฝืนนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรส
ครั้งหลัง
               ในกรณีที่หญิงสมรสฝ่าฝืน มาตรา 1452 ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าเด็กมิใช่บุตร
ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง ให้นำข้อสันนิษฐานใน
มาตรา 1536 มาใช้บังคับ
               ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่เด็กที่เกิดภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่ศาล
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้การสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452 ด้วย
               **แก้ไขโดย มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1539 ในกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นหรือ
เคยเป็นสามีตาม มาตรา 1536  มาตรา 1537 หรือ มาตรา 1538 ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะไม่รับเด็ก
เป็นบุตรของตนก็ได้ โดยฟ้องเด็กกับมารดาเด็กร่วมกันเป็นจำเลยและพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ได้อยู่ร่วมกับ
มารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์คือระหว่างหนึ่งร้อยแปดสิบวันถึงสามร้อยสิบวันก่อนเด็กเกิด
หรือตนไม่สามารถเป็นบิดาของเด็กได้เพราะเหตุอย่างอื่น
               แต่ถ้าในขณะยื่นฟ้องมารดาเด็กไม่มีชีวิตอยู่  จะฟ้องเด็กแต่ผู้เดียวเป็นจำเลยก็ได้ ถ้าเด็ก
ไม่มีชีวิตอยู่ไม่ว่ามารดาของเด็กจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กนั้นไม่เป็น
บุตรก็ได้ ในกรณีที่มารดาของเด็กหรือทายาทของเด็กยังมีชีวิตอยู่  ให้ศาลส่งสำเนาคำร้องนี้
ไปให้ด้วย  และถ้าศาลเห็นสมควรจะส่งสำเนาคำร้องไปให้อัยการพิจารณาเพื่อดำเนินคดีแทนเด็ก
ด้วยก็ได้
               **แก้ไขโดย มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1540 (ยกเลิก)
               **ยกเลิกโดย มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1541 ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตาม มาตรา 1539
ไม่ได้   ถ้าปรากฏว่าตนเป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน หรือจัด
หรือยอมให้มีการแจ้งดังกล่าว
               มาตรา 1542 การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร  ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีต้องฟ้องภายใน
หนึ่งปีนับแต่วันรู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก
               ในกรณีที่มีคำพิพากษาของศาลแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็น
สามีคนใหม่ตาม มาตรา 1537 หรือชายผู้เป็นสามีในการสมรสครั้งหลังตาม มาตรา 1538
ถ้าชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีซึ่งต้องด้วยบทสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของตน
ตาม มาตรา 1536 ประสงค์จะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ให้ฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ว่า
มีคำพิพากษาถึงที่สุด
               **แก้ไขโดย มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1543 ในกรณีที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีได้ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรแล้ว และ
ตายก่อนคดีนั้นถึงที่สุด ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็กหรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็ก
นั้นจะขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่หรืออาจถูกเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีก็ได้
               มาตรา 1544 การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็กหรือผู้จะเสียสิทธิ
รับมรดกเพราะการเกิดของเด็กอาจฟ้องได้ในกรณีดังต่อไปนี้
               (1)  ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตายก่อนพ้นระยะเวลาที่ชายผู้เป็น หรือเคยเป็นสามีจะ
พึงฟ้องได้
               (2)  เด็กเกิดภายหลังการตายของชายผู้เป็น หรือเคยเป็นสามี
               การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรในกรณี (1) ต้องฟ้องภายในหกเดือนนับแต่วันที่รู้ถึงการตาย
ของชายผู้เป็น หรือเคยเป็นสามี  การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรในกรณี (2) ต้องฟ้องภายในหกเดือน
นับแต่วันที่รู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ไม่ว่าเป็นกรณีใด ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก
               ให้นำ มาตรา 1539 มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
               มาตรา 1545 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อเด็กว่าตนมิได้เป็นบุตรสืบสายโลหิตของชายผู้เป็นสามี
ของมารดาตน เด็กจะร้องขอต่ออัยการให้ฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายนั้นก็ได้
               การฟ้องคดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเด็กได้รู้ข้อเท็จจริงก่อนบรรลุนิติภาวะว่าตนมิได้เป็นบุตร
ของชายผู้เป็นสามีของมารดา ห้ามอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็กบรรลุนิติภาวะ แต่
ถ้าเด็กรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวหลังจากบรรลุนิติภาวะแล้ว  ห้ามอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่
วันที่เด็กรู้เหตุนั้น
               ไม่ว่ากรณีใดๆ ห้ามมิให้ฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตรเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่เด็กบรรลุ
นิติภาวะ
               **มาตรา 1543,1544,1545 แก้ไขโดย มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ของหญิงนั้นเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
*แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2551
               มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ
บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
               มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม
ของเด็กและมารดาเด็ก
               ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน  ให้
นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก  ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่
คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้
สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม  ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทย
ให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสับวัน
               ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม
หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
               เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไป
ขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้
               **แก้ไขโดย มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1549 เมื่อนายทะเบียนได้แจ้งการขอจดทะเบียนขอรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ไปยังเด็กและมารดาเด็กตาม มาตรา 1548 แล้ว ไม่ว่าเด็กหรือมารดาเด็กจะคัดค้านการจดทะเบียนรับเด็ก
เป็นบุตรตาม มาตรา 1548 หรือไม่ ภายในกำหนดเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันแจ้งการขอ
จดทะเบียนถึงเด็กหรือมารดาเด็ก เด็กหรือมารดาเด็กอาจแจ้งให้นายทะเบียนจดบันทึกไว้ได้ว่า
ผู้ขอจดทะเบียนไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด
               เมื่อได้มีคำแจ้งของเด็กหรือมารดาเด็กดังกล่าวในวรรคหนึ่งแล้ว แม้จะได้มีการจดทะเบียน
รับเด็กเป็นบุตรตาม มาตรา 1548 บิดาของเด็กก็ยังใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดตามที่
เด็กหรือมารดาเด็กแจ้งว่าบิดาไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นไม่ได้  จนกว่าศาลจะพิพากษา
ให้บิดาของเด็กใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด หรือกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่เด็ก
หรือมารดาเด็กแจ้งต่อนายทะเบียนว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไม่สมควรใช้อำนาจปกครอง
บางส่วนหรือทั้งหมดนั้นได้ล่วงพ้นไป  โดยเด็กหรือมารดาเด็กมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่า
ผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไม่เป็นผู้สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด
               ในคดีที่ศาลพิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครอง
บางส่วนหรือทั้งหมด ศาลจะพิพากษาในคดีเดียวกันนั้นให้ผู้ใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือเป็น
ผู้ปกครองเพื่อการปกครองบางส่วน  หรือทั้งหมดก็ได้
               มาตรา 1550 (ยกเลิก)
               **ยกเลิกโดย มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1551 ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าผู้ซึ่งขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรมิใช่บิดาของเด็ก
เมื่อผู้ซึ่งขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรนำคดีไปสู่ศาลขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร
เป็นบิดาของเด็ก เด็กหรือมารดาเด็กจะขอให้ศาลพิพากษาในคดีเดียวกันนั้นก็ได้ว่า ผู้ขอจดทะเบียนรับ
เด็กเป็นบุตรแม้จะเป็นบิดาของเด็กก็เป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ในกรณี
เช่นว่านี้ให้นำความในวรรคสามของ มาตรา 1549 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               มาตรา 1552 กรณีที่เด็กไม่มีมารดาหรือมีมารดา แต่มารดาถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือ
ทั้งหมดและศาลได้ตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดไว้ก่อนมีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร บิดา
ซึ่งจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอนความเป็นผู้ปก
ครองบางส่วนหรือทั้งหมดของผู้ปกครอง  และให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองก็ได้  ถ้าศาลเห็นว่า
บิดาอาจใช้อำนาจปกครองเพื่อความผาสุกและประโยชน์ของเด็กได้ดียิ่งกว่าผู้ปกครอง ศาลจะมีคำ
สั่งถอนความเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดของผู้ปกครอง  และให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองก็ได้
               **แก้ไขโดย มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1553 (ยกเลิก)
               **ยกเลิกโดย มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1554 ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้ศาลถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร เพราะเหตุว่าผู้ขอให้
จดทะเบียนนั้นมิใช่บิดาก็ได้  แต่ต้องฟ้องภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้การจดทะเบียนนั้น อนึ่ง
ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันจดทะเบียน
               มาตรา 1555 ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
               (1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วย
กฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
               (2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดา
ในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
               (3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
               (4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิด
หรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
               (5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
               (6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุ
อันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
               (7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร”
               พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้อง
ฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฎในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่ เช่น บิดาให้การศึกษา
ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น
               ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้
ให้ยกฟ้องเสีย
               *วรรคหนึ่ง(1)-(7) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551
               มาตรา 1556 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้า
ปีบริบูรณ์  ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม
หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการอาจร้องขอต่อ
ศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้
               เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์  เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอม
ของผู้แทนโดยชอบธรรม
               ในกรณีที่เด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว จะต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ
               ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรอยู่
ผู้สืบสันดานของเด็กจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้  ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอ
ให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่
วันที่เด็กนั้นตาย ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย
ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่พ้นสิบปีนับ
แต่วันที่เด็กนั้นตาย
               การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่ผู้สืบสันดานของเด็กเป็นผู้เยาว์ ให้นำความ
ในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
               มาตรา 1557 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่
เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่
เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึง
ที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้
*แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ.2551
               มาตรา 1558 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายที่ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความ
มรดก ถ้าศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กนั้นมีสิทธิรับมรดกในฐานะ
ทายาทโดยธรรม
               ในกรณีที่ได้มีการแบ่งมรดกไปแล้ว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
เรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               มาตรา 1559 เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้
               มาตรา 1560 บุตรเกิดระหว่างสมรสซึ่งศาลพิพากษาให้เพิกถอนภายหลังนั้น  ให้ถือว่าเป็น
บุตรชอบด้วยกฎหมาย
 
               หมวด 2
               สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร
 
               มาตรา 1561 บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา
               ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ  บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา
               มาตรา 1562 ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่ง หรือคดีอาญามิได้แต่เมื่อผู้นั้นหรือ
ญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้
               มาตรา 1563 บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
               มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่าง
ที่เป็นผู้เยาว์
               บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและ
หาเลี้ยงตนเองมิได้
               มาตรา 1565 การร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงบุตรหรือขอให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดู
โดยประการอื่นนอกจากอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวตาม มาตรา 1562 แล้ว  บิดาหรือมารดาจะนำคดี
ขึ้นว่ากล่าวก็ได้
               มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
               อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา ในกรณีดังต่อไปนี้
               (1)  มารดาหรือบิดาตาย
               (2)  ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
               (3)  มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
               (4)  มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
               (5)  ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
               (6)  บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
               **แก้ไขโดย มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจการปกครองมีสิทธิ
               (1)  กำหนดที่อยู่ของบุตร
               (2)  ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
               (3)  ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
               (4)  เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
               มาตรา 1568 เมื่อบุคคลใดมีบุตรติดมาได้สมรสกับบุคคลอื่น  อำนาจปกครองที่มีต่อบุตร
อยู่กับผู้ที่บุตรนั้นติดมา
               มาตรา 1569 ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร ในกรณีที่บุตรถูกศาล
สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ  ผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือ
ผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี
               "มาตรา 1569/1 ในกรณีที่ผู้เยาว์ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และศาลมีคำสั่งตั้ง
บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองเป็นอนุบาล  ให้คำสั่งนั้นมีผลเป็นการถอนผู้ใช้
อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
               ในกรณีที่บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และไม่มีคู่สมรสถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
หรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้บิดามารดาหรือบิดาหรือมารดาเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์  แล้ว
แต่กรณี  เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
               *เพิ่มเติมโดย มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1570 คำบอกกล่าวที่ผู้ใช้อำนาจปกครองตาม มาตรา 1566  หรือ มาตรา 1568 
แจ้งไปหรือรับแจ้งมา  ให้ถือว่าเป็นคำบอกกล่าวที่บุตรได้แจ้งไปหรือรับแจ้งมา
               มาตรา 1571 อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย และให้จัดการ
ทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ
               มาตรา 1572 ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดยมิได้รับความยินยอม
ของบุตรไม่ได้
               มาตรา 1573 ถ้าบุตรมีเงินได้ ให้ใช้เงินนั้นเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาก่อน ส่วน
ที่เหลือผู้ใช้อำนาจปกครองต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีเงินได้
เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะใช้เงินนั้นตามสมควรก็ได้  เว้นแต่จะ
เป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินโดยการให้โดยเสน่หาหรือพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขว่ามิให้ผู้ใช้อำนาจ
ปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นๆ
               มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครอง
จะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
               (1)  ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง  หรือโอนสิทธิจำนอง  ซึ่ง
อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
               (2)  กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์
               (3)  ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันใน
อสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
               (4)  จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิใน
อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้  หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้น
ของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพย์สิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
               (5)  ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
               (6)  ก่อข้อผูกพันใดๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
               (7)  ให้กู้ยืมเงิน
               (8)  ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ
เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
               (9)  รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
               (10)  ประกันโดยประการใดๆ  อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้  หรือทำ
นิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
               (11)  นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4
(1) (2) หรือ (3)
               (12)  ประนีประนอมยอมความ
               (13)  มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
               **แก้ไขโดย มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1575 ถ้าในกิจการใด ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือประโยชน์ของคู่สมรส
หรือบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์  ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจาก
ศาลก่อนจึงทำกิจการนั้นได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
               มาตรา 1576 ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของคู่สมรส หรือบุตรของผู้ใช้อำนาจ
ปกครองตามมาตรา 1575 ให้หมายความรวมถึงประโยชน์ในกิจการดังต่อไปนี้ด้วย คือ
               (1)  ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นหุ้นส่วน
               (2)  ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นหุ้นส่วน
จำพวกไม่จำกัดความรับผิด
               มาตรา 1577 บุคคลใดจะโอนทรัพย์สินให้ผู้เยาว์โดยพินัยกรรมหรือโดยการให้โดยเสน่หา
ซึ่งมีเงื่อนไขให้บุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้จัดการจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะก็ได้
ผู้จัดการนั้นต้องเป็นผู้ซึ่งผู้โอนระบุชื่อไว้หรือถ้ามิได้ระบุไว้ก็ให้ศาลสั่ง แต่การจัดการทรัพย์สินนั้นต้อง
อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 56  มาตรา 57   มาตรา 60
               **แก้ไขโดย มาตรา 15 (4) แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 (รจ. เล่ม 109 ตอนที่ 42 วันที่ 8 เมษายน 2535)
               มาตรา 1578 ในกรณีที่อำนาจปกครองสิ้นไปเพราะผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ  ผู้ใช้อำนาจปกครอง
ต้องรับส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการ และบัญชีในการนั้นให้ผู้บรรลุนิติภาวะเพื่อรับรอง ถ้ามีเอกสารเกี่ยวกับ
เรื่องจัดการทรัพย์สินนั้น ก็ให้ส่งมอบพร้อมกับบัญชี
               ในกรณีที่อำนาจปกครองสิ้นไปเพราะเหตุอื่นนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ให้มอบ
ทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องจัดการทรัพย์สินให้แก่ผู้ใช้อำนาจปกครอง ถ้ามี หรือ
ผู้ปกครองแล้วแต่กรณี  เพื่อรับรอง
               มาตรา 1579 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายและมีบุตรที่เกิดด้วยกัน และคู่สมรสอีก
ฝ่ายหนึ่งจะสมรสใหม่  ถ้าคู่สมรสนั้นได้ครอบครองทรัพย์สินอันเป็นสัดส่วนของบุตรไว้อย่างถูกต้องแล้ว
จะส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุตรในเมื่อสามารถจัดการก็ได้ หรือมิฉะนั้นจะเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้บุตร
เมื่อถึงเวลาอันสมควรก็ได้  แต่ถ้าทรัพย์สินใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ใน มาตรา 456 หรือที่มีเอกสาร
เป็นสำคัญ  ให้ลงชื่อบุตรเป็นเจ้าของรวมในเอกสารนั้นก่อนที่จะจัดการดังกล่าวคู่สมรสนั้นจะทำ
การสมรสมิได้
               ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้คู่สมรสดังกล่าวทำการสมรสไปก่อนก็ได้ คำสั่ง
ศาลเช่นว่านี้ให้ระบุไว้ด้วยว่าให้คู่สมรสปฏิบัติการแบ่งแยกทรัพย์สินและทำบัญชีทรัพย์สินตาม
ความในวรรคหนึ่งภายในกำหนดเวลาเท่าใดภายหลังการสมรสนั้นด้วย
               ในกรณีที่การสมรสได้กระทำไปโดยมิได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่คู่สมรสไม่
ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลดังกล่าวในวรรคสอง เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือเมื่อญาติของผู้เยาว์
หรืออัยการร้องขอ ศาลมีอำนาจสั่งให้ถอนอำนาจปกครองจากคู่สมรสนั้น หรือจะมอบให้บุคคลหนึ่ง
บุคคลใดทำบัญชีและลงชื่อบุตรเป็นเจ้าของรวมในเอกสารดังกล่าวแทนโดยให้คู่สมรสเสียค่าใช้จ่ายก็ได้
               เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้  ให้ถือว่าบุตรบุญธรรมของคู่สมรสที่ตายไป และที่มีชีวิตอยู่
ทั้งสองฝ่ายเป็นบุตรที่เกิดจากคู่สมรส
               มาตรา 1580 ผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว  ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองจะให้การรับรอง
การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้ต่อเมื่อได้รับมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารตาม มาตรา 1578 แล้ว
               **แก้ไขโดย มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
               มาตรา 1581 คดีเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินในระหว่างผู้เยาว์กับผู้ใช้อำนาจปกครองนั้น ห้าม
มิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อำนาจปกครองสิ้นไป
               ถ้าอำนาจปกครองสิ้นไปขณะบุตรยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ให้เริ่มนับอายุความในวรรคหนึ่งตั้งแต่
เวลาที่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ หรือเมื่อมีผู้แทนโดยชอบธรรมขึ้นใหม่
               มาตรา 1582 ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่ง
ของศาลก็ดี ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี ประพฤติชั่วร้ายก็ดี ในกรณีเหล่านี้
ศาลจะสั่งเอง หรือจะสั่งเมื่อญาติของผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วน
หรือทั้งหมดก็ได้
               ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองล้มละลายก็ดี หรือจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในทางที่ผิดจนอาจ
เป็นภัยก็ดี ศาลจะสั่งตามวิธีในวรรคหนึ่งให้ถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินเสียก็ได้
               มาตรา 1583 ผู้ถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วน หรือทั้งหมดนั้น ถ้าเหตุดังกล่าวไว้ใน มาตรา ก่อนสิ้น
ไปแล้ว และเมื่อตนเองหรือญาติของผู้เยาว์ร้องขอ   ศาลจะสั่งให้มีอำนาจปกครองดังเดิมก็ได้
               มาตรา 1584 การที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้น
พ้นจากหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามกฎหมาย
               "มาตรา 1584/1 บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์
ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
               **เพิ่มเติมโดย มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้