กฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ2 ลักษณะ1 หมวด2 ส่วน 3,4,5,6

Last updated: 13 พ.ค. 2566  |  244 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ2 ลักษณะ1 หมวด2 ส่วน 3,4,5,6

       กฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ2 

       ส่วนที่ 3
       การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
 
       มาตรา 233 ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเป็นเหตุให้เจ้า
หนี้ต้องเสียประโยชน์ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเอง แทนลูกหนี้เพื่อ
ป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ เว้นแต่ในข้อที่เป็นการของลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้
       มาตรา 234 เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มาในคดีนั้นด้วย
       มาตรา 235 เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เรียกเงินเต็มจำนวนที่ยังค้างชำระแก่ลูกหนี้โดยไม่
ต้องคำนึงถึงจำนวนที่ค้างชำระแก่ตนก็ได้  ถ้าจำเลยยอมใช้เงินเพียงเท่าจำนวนที่ลูกหนี้เดิมค้าง
ชำระแก่เจ้าหนี้นั้น คดีก็เป็นเสร็จกันไป  แต่ถ้าลูกหนี้เดิมได้เข้าชื่อเป็นโจทก์ด้วย ลูกหนี้เดิมจะขอให้
ศาลพิจารณาพิพากษาต่อไปในส่วนจำนวนเงินที่ยังเหลือติดค้างอยู่ก็ได้
       แต่อย่างไรก็ดี ท่านมิให้เจ้าหนี้ได้รับมากไปกว่าจำนวนที่ค้างชำระแก่ตนนั้นเลย
       มาตรา 236 จำเลยมีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใดๆ  ท่านว่าจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้น เว้นแต่
ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อยื่นฟ้องแล้ว
 
       ส่วนที่ 4
       เพิกถอนการฉ้อฉล
 
       มาตรา 237 เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้
อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำ
นิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้
ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย  แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่าย
เดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
       บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้  ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็น
สิทธิในทรัพย์สิน
       มาตรา 238 การเพิกถอนดังกล่าวมาในบท มาตรา ก่อนนั้น ไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคล
ภายนอกอันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอน
       อนึ่ง  ความที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าสิทธินั้นได้มาโดยเสน่หา
       มาตรา 239 การเพิกถอนนั้นย่อมได้เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้หมดทุกคน
       มาตรา 240 การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น  ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้
รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น
 
       ส่วนที่ 5
       สิทธิยึดหน่วง
 
       มาตรา 241 ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์
สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้ชำระหนี้ก็ได้  แต่ความที่
กล่าวมานี้ท่านมิให้ใช้บังคับ เมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด
       อนึ่ง บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าการที่เข้าครอบครองนั้นเริ่มมาตั้ง
แต่ทำการอันใดอันหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย
       มาตรา 242 สิทธิยึดหน่วงอันใด ถ้าไม่สมกับลักษณะที่เจ้าหนี้รับภาระในมูลหนี้ก็ดี  ไม่สมกับคำสั่ง
อันลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อน หรือให้ในเวลาที่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นก็ดี หรือเป็นการขัดกับความสงบ
เรียบร้อยของประชาชนก็ดี  สิทธิยึดหน่วงเช่นนั้นท่านให้ถือว่าหามีไม่เลย
       มาตรา 243 ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นคนสินล้นพ้นตัวไม่สามารถใช้หนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิจะยึดหน่วงทรัพย์สิน
ไว้ได้แม้ทั้งที่ยังไม่ถึงกำหนดเรียกร้อง  ถ้าการที่ลูกหนี้ไม่สามารถใช้หนี้นั้นได้เกิดเป็นขึ้นหรือรู้ถึง
เจ้าหนี้ต่อภายหลังเวลาที่ได้ส่งมอบทรัพย์สินไซร้  ถึงแม้ว่าจะไม่สมกับลักษณะที่เจ้าหนี้รับภาระใน
มูลหนี้ไว้เดิม หรือไม่สมกับคำสั่งอันลูกหนี้ได้ให้ไว้ก็ดี เจ้าหนี้ก็อาจใช้สิทธิยึดหน่วงได้
       มาตรา 244 ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิของตนแก่ทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึดหน่วงไว้นั้นจนกว่าจะชำระ
หนี้สิ้นเชิงก็ได้
       มาตรา 245 ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะเก็บดอกผลแห่งทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้ และจัดสรรเอาไว้เพื่อการ
ชำระหนี้แก่ตนก่อนเจ้าหนี้คนอื่นก็ได้
       ดอกผลเช่นว่านี้จะต้องจัดสรรเอาชำระดอกเบี้ยแห่งหนี้นั้นก่อน  ถ้ายังมีเหลือจึงให้จัดสรรใช้ต้นเงิน
       มาตรา 246 ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจำต้องจัดการดูแลรักษาทรัพย์สินที่ยึดหน่วงไว้นั้นตามสมควร เช่น
จะพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะเช่นนั้น
       อนึ่ง ทรัพย์สินซึ่งยึดหน่วงไว้นั้น ถ้ามิได้รับความยินยอมของลูกหนี้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิยึด
หน่วงหาอาจจะใช้สอยหรือให้เช่าหรือเอาไปทำเป็นหลักประกันได้ไม่  แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้
ใช้บังคับไปถึงการใช้สอยเช่นที่จำเป็นเพื่อจะรักษาทรัพย์สินนั้นเอง
       ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงกระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติใดที่กล่าวมานี้  ท่านว่าลูกหนี้จะ
เรียกร้องให้ระงับสิทธินั้นเสียก็ได้
       มาตรา 247 ถ้าผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงต้องเสียค่าใช้จ่ายไปตามที่จำเป็นเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอันตนยึด
หน่วงไว้นั้นเพียงใด จะเรียกให้เจ้าทรัพย์ชดใช้ให้ก็ได้
       มาตรา 248 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรา 193/27  การใช้สิทธิยึดหน่วงหาทำให้อายุความ
แห่งหนี้สะดุดหยุดลงไม่
       *แก้ไขโดยมาตรา 15(10) แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 (รจ. เล่ม 109 ตอนที่ 42 วันที่ 8 เมษายน 2535)
       มาตรา 249 ลูกหนี้จะเรียกร้องให้ระงับสิทธิยึดหน่วงด้วยหาประกันให้ไว้ตามสมควรก็ได้
       มาตรา 250 การครองทรัพย์สินสูญสิ้นไป สิทธิยึดหน่วงก็เป็นอันระงับสิ้นไปด้วย  แต่ความที่กล่าวนี้
ท่านมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่ทรัพย์สินอันยึดหน่วงไว้นั้นได้ให้เช่าไปหรือจำนำไว้ด้วยความยินยอม
ของลูกหนี้
 
       ส่วนที่ 6
       บุริมสิทธิ
 
       มาตรา 251 ผู้ทรงบุริมสิทธิย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการที่จะได้รับชำระหนี้อัน
ค้างชำระแก่ตนจากทรัพย์สินนั้นก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ โดยนัยดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ หรือ
บทกฎหมายอื่น
       มาตรา 252 บทบัญญัติแห่ง มาตรา 244 นั้น  ท่านให้ใช้บังคับตลอดถึงบุริมสิทธิด้วยตามแต่กรณี
 
       1. บุริมสิทธิสามัญ
 
       มาตรา 253 ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้ บุคคลผู้นั้น
ย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ คือ
       (1)  ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกัน
       (2)  ค่าปลงศพ
       (3)  ค่าภาษีอากร  และเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้าง
       (4)  ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวัน
       "ยกเลิกโดย  มาตรา  3  แห่ง  พ.ร.บ.  แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่  13)  พ.ศ.  2541(รจ. เล่ม 115 ตอนที่ 48 ก วันที่ 17 สิงหาคม 2541)
       มาตรา 254 บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันนั้น ใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายอันได้เสียไป
เพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้หมดทุกคนร่วมกัน เกี่ยวด้วยการรักษา การชำระบัญชี หรือการเฉลี่ย
ทรัพย์สินของลูกหนี้
       ถ้าค่าใช้จ่ายนั้นมิได้เสียไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้หมดทุกคนไซร้  บุริมสิทธิย่อมจะใช้
ได้แต่เฉพาะต่อเจ้าหนี้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการนั้น
       มาตรา 255 บุริมสิทธิในมูลค่าปลงศพนั้นใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายในการปลงศพตามควรแก่
ฐานานุรูปของลูกหนี้
       มาตรา 256 บุริมสิทธิในมูลค่าภาษีอากรนั้นใช้สำหรับเอาบรรดาค่าภาษีอากรในที่ดิน ทรัพย์สิน หรือ
ค่าภาษีอากรอย่างอื่นที่ลูกหนี้  แต่ยังค้างชำระอยู่ในปีปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกปีหนึ่ง
       มาตรา 257 บุริมสิทธิในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างนั้น  ให้
ใช้สำหรับค่าจ้าง  ค่าล่วงเวลา  ค่าทำงานในวันหยุด  ค่าล่วงเวลาในวันหยุด  ค่าชดเชย  ค่าชดเชย
พิเศษ  และเงินอื่นใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้  นับถอยหลังขึ้นไปสี่เดือนแต่รวม
กันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อลูกจ้างคนหนึ่ง
       "ยกเลิกโดย  มาตรา  4  แห่ง  พ.ร.บ.  แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่  13)  พ.ศ.  2541 (รจ. เล่ม 115 ตอนที่ 48 ก วันที่ 17 สิงหาคม 2541)
       มาตรา 258 บุริมสิทธิในมูลค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวันนั้น ใช้สำหรับเอาค่าเครื่อง
อุปโภคบริโภคซึ่งยังค้างชำระอยู่นับถอยหลังขึ้นไปหกเดือน เช่น ค่าอาหาร เครื่องดื่ม โคมไฟ ฟืน
ถ่าน อันจำเป็นเพื่อการทรงชีพของลูกหนี้  และบุคคลในสกุลซึ่งอยู่กับลูกหนี้และซึ่งลูกหนี้จำต้อง
อุปการะ  กับทั้งคนใช้ของลูกหนี้ด้วย
 
       2. บุริมสิทธิพิเศษ
       (ก) บุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์
 
       มาตรา 259 ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งจะกล่าวต่อไปนี้  บุคคลผู้นั้น
ย่อมมีบุริมสิทธิเหนือสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้ คือ
       (1)  เช่าอสังหาริมทรัพย์
       (2)  พักอาศัยในโรงแรม
       (3)  รับขนคนโดยสาร หรือของ
       (4)  รักษาสังหาริมทรัพย์
       (5)  ซื้อขายสังหาริมทรัพย์
       (6)  ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย
       (7)  ค่าแรงงานกสิกรรม หรืออุตสาหกรรม
       มาตรา 260 บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์และหนี้อย่าง
อื่นของผู้เช่าอันเกิดจากความเกี่ยวพันในเรื่องเช่า และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ของผู้เช่าซึ่งอยู่ใน
หรือบนอสังหาริมทรัพย์นั้น
       มาตรา 261 บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าที่ดินนั้นมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายอันผู้เช่าได้นำเข้ามาไว้
บนที่ดินที่ให้เช่าหรือนำเข้ามาไว้ในเรือนโรงอันใช้ประกอบกับที่ดินนั้น และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์
เช่นสำหรับที่ใช้ในที่ดินนั้น  กับทั้งเหนือดอกผลอันเกิดจากที่ดินซึ่งอยู่ในครอบครองของผู้เช่านั้นด้วย
       บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าเรือนโรงย่อมมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้เช่านำเข้ามาไว้ในเรือนโรงนั้นด้วย
       มาตรา 262 ถ้าการเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้โอนไปก็ดี หรือได้ให้ช่วงก็ดี  บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าเดิมย่อม
ครอบไปถึงสังหาริมทรัพย์ซึ่งผู้รับโอน หรือผู้เช่าช่วงได้นำเข้ามาไว้ในทรัพย์สินนั้นด้วย ความที่กล่าว
นี้ท่านให้ใช้ได้ตลอดถึงเงินอันผู้โอนหรือผู้ให้เช่าช่วงจะพึงได้รับจากผู้รับโอน หรือผู้เช่าช่วงนั้นด้วย
       มาตรา 263 ในกรณีที่ผู้เช่าต้องชำระบัญชีเฉลี่ยทรัพย์สินทั่วไปนั้น  บุริมสิทธิของผู้ให้เช่าย่อมมีอยู่แต่
เฉพาะสำหรับเอาใช้ค่าเช่า และหนี้อย่างอื่นเท่าที่มีในระยะกำหนดส่งค่าเช่าเพียงสามระยะ คือ
ปัจจุบันระยะหนึ่ง ก่อนนั้นขึ้นไประยะหนึ่ง และต่อไปภายหน้าอีกระยะหนึ่งเท่านั้น  และใช้สำหรับ
เอาค่าเสียหายซึ่งเกิดขึ้นในระยะกำหนดส่งค่าเช่าปัจจุบันและก่อนนั้นขึ้นไปอีกระยะหนึ่งด้วย
       มาตรา 264 ในการเรียกร้องของผู้ให้เช่า  ถ้าผู้ให้เช่าได้รับเงินประกันไว้ ผู้ให้เช่าย่อมมีบุริมสิทธิแต่
เพียงในส่วนที่ไม่มีเงินประกัน
       มาตรา 265 บุริมสิทธิในมูลพักอาศัยในโรงแรมนั้นใช้สำหรับเอาเงินบรรดาที่ค้างชำระแก่เจ้าสำนัก
เพื่อการพักอาศัยและการอื่นๆ อันได้จัดให้สำเร็จความปรารถนาแก่คนเดินทาง หรือแขกอาศัย
รวมทั้งการชดใช้เงินทั้งหลายที่ได้ออกแทนไปและมีอยู่เหนือเครื่องเดินทางหรือทรัพย์สินอย่างอื่น
ของคนเดินทางหรือแขกอาศัยอันเอาไว้ในโรงแรม โฮเต็ล หรือสถานที่เช่นนั้น
       มาตรา 266 ผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าสำนักโรงแรม โฮเต็ลหรือสถานที่เช่นนั้น  จะใช้บุริมสิทธิ
ของตนบังคับทำนองเดียวกับผู้รับจำนำก็ได้  บทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
การบังคับจำนำนั้น ท่านให้นำมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
       มาตรา 267 บุริมสิทธิในมูลรับขนนั้น  ใช้สำหรับเอาค่าระวางพาหนะในการรับขนคนโดยสารหรือของ
กับทั้งค่าใช้จ่ายอันเป็นอุปกรณ์และเป็นบุริมสิทธิมีอยู่เหนือของและเครื่องเดินทางทั้งหมดอันอยู่
ในมือของผู้ขนส่ง
       มาตรา 268 ในกรณีดังได้ปรารภไว้ในความแปดมาตราก่อนนี้นั้น  ผู้ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ก็ดี เจ้า
สำนักโรงแรมก็ดี หรือผู้ขนส่งก็ดี จะใช้บุริมสิทธิของตนเหนือสังหาริมทรัพย์อันเป็นของบุคคลภาย
นอกก็ได้  เว้นแต่ตนจะได้รู้ในเวลาอันควรรู้ได้ว่าทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของบุคคลภายนอก
       ถ้าสังหาริมทรัพย์นั้นถูกลักหรือสูญหายท่านให้บังคับตามบทกฎหมายว่าด้วยการแสวง
คืนครองทรัพย์
       มาตรา 269 บุริมสิทธิในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาสังหาริมทรัพย์
และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์อันนั้น
       อนึ่ง  บุริมสิทธินี้ยังใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอันได้เสียไปเพื่อที่จะสงวนสิทธิ หรือ
รับสภาพสิทธิ หรือบังคับสิทธิอันเกี่ยวด้วยสังหาริมทรัพย์นั้นอีกด้วย
       มาตรา 270 บุริมสิทธิในมูลซื้อขายสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาราคาซื้อขายและดอกเบี้ยในราคา
นั้น และมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์อันนั้น
       มาตรา 271 บุริมสิทธิในมูลค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ยนั้นใช้สำหรับเอาราคาค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์
หรือปุ๋ย  และดอกเบี้ยในราคานั้น  และมีอยู่เหนือดอกผลอันเกิดงอกในที่ดินเพราะใช้สิ่งเหล่านั้น
ภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ใช้
       มาตรา 272 บุริมสิทธิในมูลค่าแรงงานเพื่อกสิกรรมและอุตสาหกรรมนั้น ในส่วนบุคคลที่ได้การงาน
กสิกรรม ใช้สำหรับเอาค่าจ้างนับถอยหลังขึ้นไปปีหนึ่ง  และในส่วนบุคคลที่ได้ทำการงานอุตสาห
กรรม ใช้สำหรับเอาค่าจ้างนับถอยหลังขึ้นไปสามเดือน และเป็นบุริมสิทธิมีอยู่เหนือดอกผลหรือ
สิ่งของที่ประดิษฐ์ขึ้นอันเกิดแต่แรงงานของบุคคลนั้นๆ
 
       (ข) บุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์
 
       มาตรา 273 ถ้าหนี้มีอยู่เป็นคุณแก่บุคคลผู้ใดในมูลอย่างหนึ่งอย่างใดดังจะกล่าวต่อไปนี้  บุคคลผู้นั้น
ย่อมมีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างของลูกหนี้  คือ
       (1)  รักษาอสังหาริมทรัพย์
       (2)  จ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์
       (3)  ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
       มาตรา 274 บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาอสังหาริมทรัพย์
และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น
       อนึ่ง บทบัญญัติแห่ง มาตรา 269 วรรคสอง นั้น  ท่านให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่กล่าวมา
ในวรรคก่อนนี้ด้วย
       มาตรา 275 บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น  ใช้สำหรับเอาสินจ้าง
ค่าทำของเป็นการงานอันผู้ก่อสร้าง สถาปนิก หรือผู้รับจ้างได้ทำลงบนอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้
และมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น
       อนึ่ง บุริมสิทธินี้ย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่ออสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาเพิ่มขึ้นในปัจจุบันเพราะ
การที่ได้ทำขึ้นนั้น และมีอยู่เพียงเหนือราคาที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
       มาตรา 276 บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นใช้สำหรับเอาราคาอสังหาริมทรัพย์และดอกเบี้ย
ในราคานั้นและมีอยู่เหนืออสังหาริมทรัพย์อันนั้น
 
       3. ลำดับแห่งบุริมสิทธิ
 
       มาตรา 277 เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญหลายรายแย้งกัน  ท่านให้ถือว่าบุริมสิทธิทั้งหลายนั้นมีลำดับที่จะ
ให้ผลก่อนหลังดังที่ได้เรียงลำดับไว้ใน มาตรา 253
       เมื่อมีบุริมสิทธิสามัญแย้งกับบุริมสิทธิพิเศษ ท่านว่าบุริมสิทธิพิเศษย่อมอยู่ในลำดับก่อน
แต่บุริมสิทธิในมูลค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ร่วมกันนั้นย่อมอยู่ในลำดับก่อนในฐานที่จะใช้สิทธินั้นต่อ
เจ้าหนี้ผู้ได้รับประโยชน์จากการนั้นหมดทุกคนด้วยกัน
       มาตรา 278 เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกันหลายรายเหนือสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้ถือลำดับ
ก่อนหลังดังที่เรียงไว้ต่อไปนี้ คือ
       (1)  บุริมสิทธิในมูลเช่าอสังหาริมทรัพย์ พักอาศัยในโรงแรม และรับขน
       (2)  บุริมสิทธิในมูลรักษาสังหาริมทรัพย์ แต่ถ้ามีบุคคลหลายคนเป็นผู้รักษา ท่านว่าผู้ที่
รักษาภายหลังอยู่ในลำดับก่อนผู้ที่ได้รักษามาก่อน
       (3)  บุริมสิทธิในมูลซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ค่าเมล็ดพันธุ์ ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ย และค่าแรงงาน
กสิกรรมและอุตสาหกรรม
       ถ้าบุคคลผู้ใดมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับเป็นที่หนึ่ง และรู้อยู่ในขณะที่ตนได้ประโยชน์แห่งหนี้
มานั้นว่า ยังมีบุคคลอื่นซึ่งมีบุริมสิทธิอยู่ในลำดับที่สองหรือที่สามไซร้  ท่านห้ามมิให้บุคคลผู้นั้นใช้สิทธิ
ในการที่ตนอยู่ในลำดับก่อนนั้นต่อบุคคลอื่นเช่นว่ามา และท่านห้ามมิให้ใช้สิทธินี้ต่อผู้ที่ได้รักษาทรัพย์ไว้
เพื่อประโยชน์แก่บุคคลผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งนั้นเองด้วย
       ในส่วนดอกผล  ท่านให้บุคคลผู้ได้ทำการงานกสิกรรมอยู่ในลำดับที่หนึ่ง  ผู้ส่งเมล็ดพันธุ์
ไม้พันธุ์ หรือปุ๋ยอยู่ในลำดับที่สอง และผู้ให้เช่าที่ดินอยู่ในลำดับที่สาม
       มาตรา 279 เมื่อมีบุริมสิทธิพิเศษแย้งกันหลายรายเหนืออสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้ถือ
ลำดับก่อนหลังดังที่ได้เรียงลำดับไว้ใน มาตรา 273
       ถ้าได้ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้นสืบต่อกันไปอีกไซร้ ลำดับก่อนหลังในระหว่างผู้ขายด้วย
กันนั้น ท่านให้เป็นไปตามลำดับที่ได้ซื้อขายก่อนและหลัง
       มาตรา 280 เมื่อบุคคลหลายคนมีบุริมสิทธิในลำดับเสมอกันเหนือทรัพย์อันหนึ่งอันเดียวกัน ท่านให้
ต่างคนต่างได้รับชำระหนี้เฉลี่ยตามส่วนมากน้อยแห่งจำนวนที่ตนเป็นเจ้าหนี้
 
       4. ผลแห่งบุริมสิทธิ
 
       มาตรา 281 บุริมสิทธิอันมีอยู่เหนือสังหาริมทรัพย์นั้น ท่านห้ามมิให้ใช้เมื่อบุคคลภายนอกได้ทรัพย์นั้น
จากลูกหนี้และได้ส่งมอบทรัพย์ให้กันไปเสร็จแล้ว
       มาตรา 282 เมื่อมีบุริมสิทธิแย้งกับสิทธิจำนำสังหาริมทรัพย์ ท่านว่าผู้รับจำนำย่อมมีสิทธิเป็นอย่าง
เดียวกันกับผู้ทรงบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งดังที่เรียงไว้ใน มาตรา 278 นั้น
       มาตรา 283 บุคคลผู้มีบุริมสิทธิสามัญต้องรับชำระหนี้เอาจากสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ก่อน ต่อเมื่อ
ยังไม่พอจึงให้เอาชำระหนี้จากอสังหาริมทรัพย์ได้
       ในส่วนอสังหาริมทรัพย์นั้น  ก็ต้องรับชำระหนี้เอาจากอสังหาริมทรัพย์อันมิได้ตกอยู่ใน
ฐานเป็นหลักประกันพิเศษเสียก่อน
       ถ้าบุคคลใดมีบุริมสิทธิสามัญและละเลยด้วยความประมาทเลินเล่อไม่สอดเข้าแย้งขัด
ในการแบ่งเฉลี่ยทรัพย์ตามความที่กล่าวมาในวรรคทั้งสองข้างบนนี้ไซร้  อันบุคคลนั้นจะใช้บุริมสิทธิ
ของตนต่อบุคคลภายนอกผู้ได้จดทะเบียนสิทธิไว้แล้วเพื่อจะเอาใช้จนถึงขนาดเช่นที่ตนจะหากได้รับ
เพราะได้สอดเข้าแย้งขัดนั้น  ท่านว่าหาอาจจะใช้ได้ไม่
       อนึ่ง บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคทั้งสามข้างต้นนี้  ท่านมิให้ใช้บังคับ หากว่าเงินที่ขาย
อสังหาริมทรัพย์ได้นั้นจะพึงต้องเอามาแบ่งเฉลี่ยก่อนเงินที่ขายทรัพย์สินอย่างอื่นก็ดี  หรือหากว่า
เงินที่ขายอสังหาริมทรัพย์อันตกอยู่ในฐานเป็นหลักประกันพิเศษนั้นจะพึงต้องเอามาแบ่งเฉลี่ย
ก่อนเงินที่ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นก็ดุจกัน
       มาตรา 284 บุริมสิทธิสามัญนั้น  ถึงแม้จะมิได้ไปลงทะเบียนเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ก็ดี ย่อมจะยก
ขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ใดๆ ที่ไม่มีหลักประกันพิเศษนั้นได้  แต่ความที่กล่าวนี้  ท่านมิให้ใช้ไปถึง
การต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้ไปลงทะเบียนสิทธิไว้
       มาตรา 285 บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์นั้น  ถ้าหากว่าเมื่อทำการเพื่อบำรุงรักษานั้นสำเร็จ
แล้ว ไปบอกลงทะเบียนไว้โดยพลันไซร้  บุริมสิทธิก็คงให้ผลต่อไป
       มาตรา 286 บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์นั้น  หากทำรายการ
ประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อนเริ่มลงมือการทำไซร้ บุริมสิทธิก็คงให้ผลต่อไป
แต่ถ้าราคาที่ทำจริงนั้นล้ำราคาที่ได้ประมาณไว้ชั่วคราว ท่านว่าบุริมสิทธิในส่วนจำนวนที่ล้ำอยู่นั้นหามีไม่
       ส่วนการที่จะวินิจฉัยว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นมีราคาเพิ่มขึ้นเพราะการอันได้ทำขึ้นบน
อสังหาริมทรัพย์มากน้อยเพียงใดนั้น ท่านให้ศาลตั้งแต่งผู้เชี่ยวชาญขึ้นเป็นผู้กะประมาณในเวลา
ที่มีแย้งขัดในการแบ่งเฉลี่ย
       มาตรา 287 บุริมสิทธิใดได้ไปจดทะเบียนแล้วตามบทบัญญัติแห่งมาตราทั้งสองข้างบนนี้ บุริมสิทธินั้น
ท่านว่าอาจจะใช้ได้ก่อนสิทธิจำนอง
       มาตรา 288 บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น  หากว่าเมื่อไปลงทะเบียนสัญญาซื้อขายนั้น
บอกลงทะเบียนไว้ด้วยว่าราคาหรือดอกเบี้ยในราคานั้นยังมิได้ชำระไซร้ บุริมสิทธินั้นก็คงให้ผลต่อไป
       มาตรา 289 ว่าถึงผลแห่งบุริมสิทธิ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 281 ถึง 288 นี้แล้ว  ท่านให้
นำบทบัญญัติทั้งหลายแห่งลักษณะจำนองมาใช้บังคับด้วยตามแต่กรณี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้