กฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 1

Last updated: 31 พ.ค. 2566  |  516 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กฎหมายแพ่งและพานิชย์ บรรพ 1 ลักษณะ 1

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
               บรรพ 1
               หลักทั่วไป
               ลักษณะ 1
               บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
 
               มาตรา 4 กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัว
อักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ
               เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้อง
ถิ่น  ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
               มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี  ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต
               มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต
               มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบท
กฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
               มาตรา 8 คำว่า  "เหตุสุดวิสัย"  หมายความว่า  เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี  จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็น
เหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการ
ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น
               มาตรา 9 เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่
จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
               ลายพิมพ์นิ้วมือ  แกงได  ตราประทับ  หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงใน
เอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับ
ลงลายมือชื่อ
               ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่การลงลายพิมพ์นิ้วมือ  แกงได  ตราประทับ  หรือเครื่อง
หมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นซึ่งทำลงในเอกสารที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่
               **หมายเหตุ  มาตรา 9 “เอกสารที่มีการใช้ตราประทับแทนการลงลายมือชื่อตาม มาตรา 9.
วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ซึ่ง
ได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลสมบูรณ์เสมือนกับลงลายมือชื่อต่อไป”
(มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่
ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
               มาตรา 10 เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้
ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล
               มาตรา 11 ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียใน
มูลหนี้นั้น
               มาตรา 12 ในกรณีที่จำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข  ถ้าตัวอักษร
กับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้  ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่
เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ
               มาตรา 13 ถ้าจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้เป็นตัวอักษรหลายแห่ง หรือเป็นตัวเลข
หลายแห่ง  แต่ที่แสดงไว้หลายแห่งนั้นไม่ตรงกัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้  ให้ถือ
เอาจำนวนเงินหรือปริมาณน้อยที่สุดเป็นประมาณ
               มาตรา 14 ในกรณีที่เอกสารทำขึ้นไว้หลายภาษา  ไม่ว่าจะเป็นฉบับเดียวกันหรือหลายฉบับก็ตาม
โดยมีภาษาไทยด้วย ถ้าข้อความในหลายภาษานั้นแตกต่างกัน  และมิอาจหยั่งทราบเจตนาของ
คู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับ  ให้ถือตามภาษาไทย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้